share

สนับสนุนงานภาคีเครือข่าย

Last updated: 13 Jun 2024
137 Views
สนับสนุนงานภาคีเครือข่าย

การสนับสนุนภาคีเครือข่าย เป็นภารกิจที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับภารกิจหลักเนื่องด้วยเป้าหมายของมูลนิธิที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล ชุมชน นโยบายเพื่อนำไปสู่สังคมที่มีความเสมอภาคระหว่างเพศ ปลอดจากปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศแต่ภายใต้โครงสร้างสังคมปัจจุบันมีปัญหาทับซ้อนอยู่ มากมายหลายประเด็นการทำงานโดยลำพังเพียงองค์กรเดียวย่อมเป็นไปได้ยากที่จะประสบความสำเร็จ การทำงานจึงต้องอาศัยพลังความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในหลายระดับและหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานของมูลนิธิทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนงานภาคีเครือข่ายทำให้ (1) เกิดแนวร่วมสนับสนุนการทำงานในประเด็นความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเพิ่มมากขึ้นได้แบบไม่มีที่สิ้นสุดและแนวร่วมดังกล่าวก็จะ (2) เป็นพลังหนุนเสริมให้การทำงานตามเป้าหมายของมูลนิธิบรรลุผลได้แบบทวีคูณ

ในการทำงานสนับสนุนภาคีเครือข่ายมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลยังคงยึดมั่นในจุดยืนขององค์กรคือการทำงานเพื่อ “ความเสมอภาคระหว่างเพศ” พยายามหาช่องทางหรือหาโอกาสนำเสนอแนวคิดหลักที่เป็นปมปัญหาคือ “ทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่” แต่ขณะเดียวกันเมื่อทำงานกับภาคีเครือข่ายก็ทำด้วยใจเปิดกว้าง ยอมรับแนวคิดและวิธีการที่แตกต่างแต่ไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้

✤ การสนับสนุนประกอบด้วย 2 ลักษณะ ดังนี้

1.สนับสนุนสิ่งที่เป็นจุดแข็งและสอดคล้องกับเป้าหมาย/ยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น

1.1 แนวทางการจัดการปัญหาเพื่อจัดการปัญหาความรุนแรงให้กับพื้นที่/ชุมชนกับเครื่องมือ เช่น กลุ่มสนับสนุน, ค่าย
1.2 การ Empowerment เพื่อสร้างแกนนำที่สามารถสื่อสารกับสาธารณะจากเจ้าของปัญหาที่ผ่านพ้นแล้ว (ตัวจริงเสียงจริง) ด้วยกระบวนการและเครื่องมือให้คำปรึกษาเคส
1.3 การรณรงค์สร้างกระแสสังคม
1.4 การผลักดันนโยบาย

2. สนับสนุนสิ่งที่ภาคีต้องการให้ช่วยเสริม เช่น2.1 กรณี (เคส) สำหรับการเคลื่อนไหวรณรงค์สร้างกระแสเพื่อให้เห็นรูปธรรมปัญหาและความต้องการจากตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบเองโดยตรง
2.2 คำแนะนำ/พี่เลี้ยงให้ชุมชนสามารถจัดการปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
2.3 ความรู้ประสบการณ์ข้อมูลจากเคสที่ตอบโจทย์ภาควิชาการสื่อมวลชน
2.4 การเชื่อมต่อ/ประสานให้ภาคีเข้าถึงการสนับสนุนที่ต้องการได้

✤ กรณีตัวอย่างของการมีส่วนร่วมสนับสนุนงานภาคีเครือข่าย เช่น

1.การผลักดันนโยบายด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการขับเคลื่อนร่วมกับ 3 ภาคีเครือข่าย คือ
  • เครือข่ายองค์กรงดเหล้า เป็นองค์กรรณรงค์แก้ปัญหาจากแอลกอฮอล์ เพื่อลด ละ เลิก และปรับสภาพแวดล้อมรวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดนโยบายมาตรการต่าง ๆ
  • เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์เป็นเครือข่ายรณรงค์เพื่อปกป้องเยาวชนและสังคมไทยจากภัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตีแผ่ข้อมูล กลอุบาย ความสูญเสีย และผลกระทบจากภัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนให้ได้มาซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมาตรการห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิง
  • เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุราเป็นเครือข่ายที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบริษัทสุราให้ปฏิบัติตามกฎหมาย

✤ ร่วมเคลื่อนไหวในประเด็นดังต่อไปนี้

1.1 ผลักดันกฎหมายการห้ามขายเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อจนรัฐบาลออกประกาศ “ห้ามขายเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อ” มีผลบังคับใช้ เมื่อ 30 ต.ค. 2561

1.2 ร่วมรณรงค์เคลื่อนไหวแสดงความคิดเห็นยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอยกเลิกนโยบายเปิดสถานบันเทิงถึงเวลา 4.00 น. ซึ่งบทบาทมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลสะท้อนปัญหาผลกระทบ ในมิติความรุนแรงในครอบครัวความสัมพันธ์ในครอบครัวและความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความรุนแรงทางเพศรวมถึงด้านเศรษฐกิจในครอบครัวโดยการวิเคราะห์ประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา

2. การรณรงค์สื่อสารสะท้อนผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จัดกิจกรรมโดยใช้โอกาสเนื่องในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล วันแม่ แห่งชาติ และการจัดเวทีวิชาการรายงานสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศความรุนแรงในครอบครัวโดยมีข้อเสนอทางนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวประกอบไปด้วยภาคีต่างที่ร่วมกันทำงาน ดังนี้

2.1 ภาคีเครือข่ายชุมชน เป็นกลุ่มเครือข่ายมวลชนขับเคลื่อนหลักประจำพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญมากในฐานะกองกำลังหนุนเสริมหลักทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ยุทธศาสตร์เคลื่อนไหวอยู่ในกทม. ขบวนเครือข่ายภาคมวลชนกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเคลื่อนตัวเร็วเรียกแนวร่วมได้ทันทีและร่วมวางแผนปฏิบัติการ ร่วมกับองค์กรเฉพาะกิจได้อย่างต่อเนื่อง

2.2 ภาคีเครือข่าย-ภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการทำงานร่วมกับมูลนิธิในการรณรงค์ในวันสงกรานต์และเกิดกลไกการแก้ปัญหาการคุกคามทางเพศที่เชื่อมโยงกับสำนักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นต้น

2.3 ภาคีเครือข่าย-ภาคเอกชน เช่น บริษัทโฆษณา J. Walter Thomson (JWT) ทำเรื่องบ้านไม่ใช่เวทีมวย รณรงค์ ในปี 2560, บริษัท BBDOปี 2556 งานป้ายตา และ ครปอ. ร่วมรณรงค์ในประเด็นผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

2.4 ภาคีเครือข่าย-บุคคลที่มีชื่อเสียง (Influencer) เช่น คุณซินดี้ สิรินยา บิชอพ นำประสบการณ์จริงของตัวเองเข้ามารณรงค์ร่วมกับมูลนิธิ เรื่องการคุกความทางเพศจากเทศกาลสงกรานต์และร่วมจัดนิทรรศการรณรงค์ DON’T TELL ME HOW TO DRESS ในปี 2561 เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy