แชร์

การสื่อสารและสร้างกระแสทางสังคม

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
144 ผู้เข้าชม

การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสทางสังคมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจจนนำมาสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติชายเป็นใหญ่ ทำให้เกิดค่านิยมเชิงบวกในบทบาทหญิงชาย ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ถือเป็นพันธกิจสำคัญข้อหนึ่งของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.) ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งมูลนิธิ โดยใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งการรณรงค์การจัดเวทีเสวนา การแถลงข่าว การจัดนิทรรศการ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการทำกิจกรรมเหล่านี้ไม่ใช่แค่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สังคมตระหนักรู้ แต่มูลนิธิฯ มองว่า การสื่อสารจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ประสบปัญหาโดยตรง (ทั้งผู้ถูกกระทำและผู้เป็นฝ่ายกระทำ) ได้ลุกขึ้นมาบอกกับสังคมด้วยตนเองภายใต้ความเชื่อว่า “มนุษย์ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้” ดังนั้น หากกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนา การเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ทำให้มองเห็นปัญหาที่ตนได้รับผลกระทบก็จะสามารถสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและ ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้

กระบวนการการทำงานสร้างกระแสทางสังคมของมูลนิธิฯ จึงมีการนำเสนอแบบใหม่ ในมิติของผู้ได้รับผลกระทบที่ผ่านพ้นออกมาสื่อสารกับสังคมซึ่งเป็นการเสริมพลังสร้างการมีตัวตนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ โดยตรง โดยผ่านกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ในวาระโอกาสสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง เช่น วันสตรีสากล (8 มีนาคม) หรือช่วงเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากการเล่นน้ำสงกรานต์นั้นนำไปสู่การคุกคามทางเพศ รวมไปถึงวันแม่ และวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล วันสำคัญเหล่านี้สามารถเป็นพื้นที่ที่ให้ผู้หญิงได้มาสื่อสารผลกระทบให้กับสังคมได้รับรู้

เบื้องหลังการทำงาน แม้มูลนิธิฯ ไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารโดยตรง แต่อาศัยความร่วมมือจาก ภาคีเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.) นำโดย คุณชูวิทย์จันทรส และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ที่มีทักษะและประสบการณ์มากกว่ามาร่วมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์สถานการณ์ คิดประเด็นออกแบบกิจกรรม และร่วมดำเนินการ และบางโอกาสก็เป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทโฆษณา ที่ให้ความสนใจทำสปอตรณรงค์ประเด็นผู้หญิงกับความรุนแรง เป็นต้น

กิจกรรมสร้างกระแสสังคมที่มูลนิธิฯ ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2555–2564 แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 4 กลุ่ม ดังนี้ 

ปี

กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ หรือตามสถานการณ์

Campaign ยุติความรุนแรง

Campaign ช่วงเทศกาลสงกรานต์

เวทีรายงานสถานการณ์ความรุนแรงประจำปี

2555

  • บทเรียนชีวิต...เมื่อความรุนแรงซ่อน แฝงในความรัก

  • Mom Stop drink… แม่ไม่ดื่ม

  • สานมือ ส่งใจ ร่วมยุติความรุนแรง

  • รณรงค์ “5 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ตอน รู้สิทธิ... รู้ใช้”

 
  • รายงานสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศ ปี 2554

2556

  • หยุดสุรา หยุดอบายมุข เพื่อคุณภาพชีวิตแรงงานหญิง

  • เสียงสะท้อนหัวอกแม่ หัวอกเมีย

  • #Womenagainstabuse การป้ายตา “ถอดรหัสชีวิต เมื่อผู้หญิงลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและผู้อื่นจากความรุนแรง”

  • สาดไม่แต๊ะอั๋ง แมนโคตร ๆ

  • รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ปี 2555

 2557

  • คสม. คืนความสุขให้แม่

  • เรื่องเล่า(เหล้า)... เปลี่ยนพ่อ Daddy Change

  • แกะรอยวิกฤตแรงงานหญิงไทยกับสุรา

  • อย่าอ้างว่ารักแล้วทำร้าย

  • ยื่นหนังสือข้อเสนอต่อปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  • รายงานสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศ ปี 2556

2558

  • ผู้หญิงกับสุรา มายาคติและผลประโยชน์

  • เหมือนได้สามีใหม่ เพราะสามีเลิกเหล้า 

  • เปิด ปรับ เปลี่ยน “หยุดความรุนแรงในครอบครัว”

  • ไม่มีการจัดกิจกรรม แต่เป็นการทำเพรสข่าวส่งสื่อมวลชน

  • รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ปี 2557

 2559

  • อย่าให้รัก กลายเป็นร้าย

  • สหภาพแรงงานชวน "งดเหล้าครบพรรษาได้เวลาพักตับ"

  • เมื่อกระบวนการยุติธรรมมองเหยื่อความรุนแรงเป็นอาชญากร

  • คุณทำได้ ผู้ชายตัวจริง ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก (Man Can Do Stop Violence)

  • แฮปปี้สงกรานต์... ไม่มีเหล้า ไม่ลวนลาม ไม่รุนแรง

  • ข่มขืน... ไกล่เกลี่ย ยอมความ เราจะออกจากวังวนนี้ได้อย่างไร

2560

  • รักไม่ใช่การครอบครอง

  • คุกคามทางเพศไม่ใช่เรื่องส่วนตัว: รัฐกับการคุ้มครองผู้เสียหายและอำนวยความยุติธรรม

  • กิจกรรมเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ชูแนวคิด "พลังเยาวชน ต่อต้านการข่มขืน ความรุนแรงทางเพศ ทุกรูปแบบ”

  • ความจริงของผู้หญิงกับสุรา... ผลกระทบที่ต้องแบกรับ

  • House is not Boxing Ring บ้าน… ไม่ใช่เวทีมวย

  • สุขสงกรานต์: งดสุรา หยุดคุกคามทางเพศ

  • ความรุนแรงฆ่าครอบครัว

2561

  • เวทีเสวนา “ชุดที่ใส่... ในวันที่ถูกข่มขืนลวนลาม คุกคามทางเพศ”

  • นิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศภายใต้แนวคิด “ชุดที่ใส่ในวันที่ถูกคุกคามทางเพศ”#Donttellmehowtodress

  • จับสัญญาณอันตรายความตายความรุนแรงในครอบครัว

  • Pain to Power เจ็บ... แต่ไม่ยอม (รณรงค์ยุติความรุนแรง)

  • สงกรานต์ กทม. ปลอดภัย ไม่ดื่ม ไม่ลวนลาม ไม่ซิ่ง

  • เสวนาเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ “ลวนลาม คุกคามทางเพศขึ้นอยู่กับชุดที่ใส่จริงเหรอ?”

  • สงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย ไม่ลวนลาม

  • ข่มขืน... ภัยใกล้ตัวของ เด็กและเยาวชน

2562

  • ฝ่าวิกฤตชีวิตแม่… กว่าจะถึงวันที่ก้าวผ่าน

  • งานบ้านเป็นของทุกคน ทำได้ทุกเพศ

  • สงกรานต์ ปลอดภัย ปลอดเหล้า เคารพสิทธิ

  • ฆ่าซ้ำ เจ็บซ้อน ความรุนแรงในครอบครัวพุ่ง เกินตั้งรับ

2563

  • แม่... ภาระที่แบกรับซ้ำยังถูกทำร้าย

  • เปลี่ยน พ.ศ. ใหม่ เปลี่ยนใจเลิกเมา... นิวนอร์มอลยกกำลังสอง

  • เสวนาและเปิดตัว “คู่มือการทำงานพื้นที่ชุมชนปลอดภัยสำหรับสตรี”

 
  • ไขปัญหา: เมื่อเด็กและเยาวชนไทยถูกล่วงละเมิดทางเพศ

2564

  • เสวนา “หยุดฉากข่มขืนผ่านจอ หยุดผลิตซ้ำความรุนแรงในสังคมไทย

  • เสวนา “สถานศึกษากับปัญหาคุกคามทางเพศ”

  • เสวนาออนไลน​ “ท้อง-คลอดในวิกฤตโควิด ชะตากรรมแรงงานหญิงที่ถูกเมิน”

 

  • สงกรานต์ปลอดภัย เช็คอินกับครอบครัว

 



บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy