แชร์

เช็คกรอบความเป็นหญิง ความเป็นชาย

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
3199 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 13 มิถุนายน 2566)

ความเป็นหญิงความเป็นชายถูกบ่มเพาะทางสังคมผ่านสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ระบบทางการเมือง หญิง ชาย ถูกแบ่งกรอบชัดเจนแบบตรงกันข้าม ผู้ชายต้องเป็นผู้นำ ทำงานหาเงิน มีอำนาจ มีความสามารถในการตัดสินใจ เข้มแข็ง ฯลฯ ในขณะที่ผู้หญิงมีความอ่อนแอ ชอบอะไรอ่อนหวาน ทำงานบ้าน ดูแลลูก ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องสำคัญได้ ฯลฯ เรื่องของเพศวิถีก็แทบจะเป็นสูตรสำเร็จ ผู้ชายต้องเป็นฝ่ายควบคุม มีอิสระทางเพศ ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว จะแสดงออกทางเพศไม่ได้ ทั้งหมดล้วนตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคทางเพศอย่างชัดเจน และปลูกฝังมากับคนไทยผ่านโครงสร้างทางสังคมที่ยกผู้ชายเหนือกว่าผู้หญิงเสมอมา

ในยุคที่สังคมเปลี่ยนผ่าน คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น ความเป็นชายไม่ได้ถูกยกมาให้คุณค่าเท่าในอดีต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากรอบความเป็นหญิงความเป็นชายจะจางหายไปซะทีเดียว

วันนี้เราขอชวนทุกคนมาทบทวนกรอบความเป็นหญิงความเป็นชาย จากข้อความในภาพทั้งสองฝั่ง มีข้อไหนที่ตรงกับความคิด ทัศนคติ หรือความเชื่อของตัวเองบ้างหรือไม่

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะติดกรอบเหล่านี้ แม้ว่าจะเพียงหนึ่งหรือสองข้อ เพราะนี่คือความคิด ความเชื่อ บรรทัดฐานของสังคมที่ฝังรากลึกมายาวนาน ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่เราจะเปลี่ยนแปลงและทำความเข้าใจใหม่ ผู้ชายบางคนไม่กล้าร้องไห้ เพราะกลัวถูกมองว่าอ่อนแอ ต้องเข้มแข็ง และแสดงออกเชิงอำนาจ บางคนใช้อำนาจกดทับผู้หญิง รวมไปถึงการใช้ความรุนแรง เพราะเข้าใจว่าการแสดงออกแบบนี้คือเรื่องที่ถูกต้องตามแบบฉบับเพศของตัวเอง เหล่านี้คือความเป็นเพศที่เป็นพิษ ผู้หญิงเองก็ถูกคาดหวังมากเกินไป ต้องดูแลลูก ดูแลสามี ต้องทำงานบ้านอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ผู้ชายก็กลายเป็นกดดันตัวเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

การจะก้าวไปสู่สังคมที่มีความเท่าเทียมทางเพศ และลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สิ่งแรกที่เราจะทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงได้ คือการไม่ติดกรอบความเป็นหญิงความเป็นชาย ไม่ส่งต่ออำนาจชายเป็นใหญ่ ทุกเพศสามารถทำในสิ่งเดียวกันได้ เราทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำตามบรรทัดฐานที่สังคมเคยสร้างไว้


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy