แชร์

ทำไมผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัวถึงออกมาเรียกร้องความถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
2463 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 2 มีนาคม 2566)

เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้หญิงออกมาพูดหรือเรียกร้องความถูกต้องจากการถูกใช้ความรุนแรงในอดีตที่ผ่านมา แรงกดดันจากสังคมมักจะเกิดขึ้นทันที พร้อมกับคำถามว่า “ทำไมถึงเพิ่งออกมาพูด ทั้งที่เวลาผ่านมานานแล้ว” ความเข้าใจของคนในสังคมที่คาดเคลื่อนจากการถูกหล่อหลอมด้วยกรอบคิดชายเป็นใหญ่ ทำให้ไม่เข้าใจว่าการที่ผู้หญิงจะลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละคนมีปัจจัยที่แตกต่างกัน

และนี่คือ 10 เหตุผลที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้รวบรวมจากเคสผู้ถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว ว่าทำไมผู้หญิงถึงออกมาพูดหรือเรียกร้องความถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว

1. ตกอยู่ในภาวะความกลัว ถูกข่มขู่ คุกคามจากฝ่ายชาย ในช่วงที่ผู้หญิงถูกใช้ความรุนแรงมักจะถูกข่มขู่ คุกคาม จากฝ่ายชาย โดยเฉพาะเมื่อผู้ชายมีอำนาจมากกว่า ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าที่จะออกมาเรียกร้องหรือออกจากความสัมพันธ์นั้น

2. ฝ่ายชายมีอำนาจ มีภาพลักษณ์ที่ดี และได้รับการยอมรับจากสังคม สังคมมักให้ความสำคัญและเชื่อถือผู้ที่มีอำนาจ มีภาพลักษณ์ที่ดี่ การที่ฝ่ายชายได้รับการยอมรับจากสังคมจึงทำให้ฝ่ายหญิงรู้สึกว่าหากพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ และกลับมาตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงแทน

3. มายาคติของสังคมที่มักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย ทุกครั้งที่เกิดความรุนแรงในครอบครัว สังคมมักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงก่อน เช่น ไปยั่วโมโหเขาหรือเปล่า ไปทำอะไรให้เขาไม่พอใจใช่ไหม แทนที่จะเป็นการตั้งคำถามกับฝ่ายชาย

4. เคยรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หรือคิดว่าฝ่ายชายจะเปลี่ยนได้ หลายคนรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ผู้ชายบางคนใช้ความรุนแรงหลังจากดื่มสุรา เมื่อมีสติก็กลับมาขอโทษ สัญญาว่าจะไม่ทำอีก ทำให้รู้สึกว่าเดี๋ยวฝ่ายชายก็เปลี่ยนได้ ประกอบกับการหล่อหลอมของสังคมที่บอกว่าเรื่องในครอบครัวอย่าเอาไปพูดกับใคร ถ้าคนอื่นรู้จะดูไม่ดี

5. กลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับลูก ครอบครัว หรือปัญหาเศรษฐกิจ การปลูกฝังว่าครอบครัวที่สมบูรณ์คือการมีพ่อ แม่ ลูก เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงฝ่ายหญิงจึงมักเลือกที่จะไม่พูดเพราะกลัวจะส่งผลกระทบต่อลูก ครอบครัว ยิ่งบางครอบครัวที่ฝ่ายชายทำงาน ในขณะที่ฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูก ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายหญิงกลัวเกิดปัญหาด้านการเงิน และไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้ในทันที

6. ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ออกมาพูด เมื่อไม่มีการยอมรับหรือความเข้าใจจากสังคม แม้กระทั่งในระดับของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านกฎหมาย ก็ยิ่งทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าไม่มีพื้นที่ปลอดภัย การออกมาพูดก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำตัวเอง แทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหา

7. ที่ผ่านมาไม่มีคนที่ออกมาพูดในเรื่องแบบนี้ สังคมไทยที่สอนต่อกันมาว่าเรื่องในครอบครัวไม่ควรออกมาพูด ทำให้การที่ใครรจะออกมาเปิดเผยว่าตนถูกกระทำความรุนแรงนั้นเป็นเรื่องยาก เมื่อเห็นว่าที่ผ่านมาไม่มีคนออกมาพูดในเรื่องนี้ ผู้ถูกใช้ความรุนแรงก็มักเลือกที่จะเก็บไว้

8. ระบบกฎหมายที่ไม่เอื้อ กฎหมายที่ยังไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมไปถึงผู้บังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้าใจและอยู่บนพื้นฐานหลักคิดแบบชายเป็นใหญ่ ทำให้ผู้ถูกกระทำไม่อยากออกมาใช้กระบวนการทางกฎหมาย และคิดว่าถึงเรียกร้องไปก็ไม่เป็นผล

9. ต้องใช้เวลาเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจและทำให้ตัวเองเข้มแข็งขึ้น หลายคนมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำ มีภาวะหวาดระแวง ไปจนถึงซึมเศร้า ต้องใช้เวลาในการเยียวยาสภาพจิตใจ จนเมื่อรู้สึกว่าตัวเองเข้มแข็งขึ้นจึงกล้าที่จะออกมาพูดและเรียกร้องความถูกต้อง

10. ต้องการหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเข้าใจว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เมื่อผ่านระยะเวลาประกอบกับสภาพจิตใจเข้มแข็ง และเข้าใจแล้วว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ผู้หญิงจึงกล้าที่จะออกมาพูดเพื่อหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเพื่อไม่ให้ใครถูกระทำด้วยความรุนแรงเช่นตนเองอีก

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะออกความรุนแรง หรือกล้าที่จะออกมาพูดและเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละคน แต่ละครอบครัว สังคมจึงควรเข้าใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และหยุดการตั้งคำถามว่า “ทำไมเพิ่งออกมาพูด”


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy