share

เมื่อความรักคืออิสรภาพและก้าวข้ามเรื่องเพศ

Last updated: 13 Jun 2024
573 Views
 เมื่อความรักคืออิสรภาพและก้าวข้ามเรื่องเพศ

(เผยแพร่บทความเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566)

หลายคนมองว่าความรักเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ในความเป็นจริงการใช้ชีวิตยังประกอบ เกี่ยวพันกับสังคม และผู้คนต่าง ๆ อีกมากมาย ความรักคือสิ่งที่ทำให้เกิดพลัง เกิดการเกื้อหนุน เกิดสิ่งที่ดี ไม่ใช่การนำไปสู่ความเลวร้ายดังนั้นการจะมองว่าคนรักคือสมบัติของตัวเองนั้นไม่ถูกต้อง เพราะนั่นจะยิ่งนำไปสู่การทำลาย การใช้ความรุนแรง และไม่เกิดอิสรภาพในความรักอย่างที่ควรจะเป็น

ความรักที่ก้าวข้ามเรื่องของเพศ

เมื่อก่อนเราจะได้ยินคำว่ารักไม่มีพรหมแดน ซึ่งหมายถึงความรักที่ไม่มีกำแพงเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม หรือแม้แต่ระยะทางมาขวางกั้น แต่ปัจจุบันความรักก้าวข้ามไปกว่านั้นมาก ความรักก้าวข้ามเรื่องเพศ ไม่ได้ถูกจำกัดว่าคือหญิงหรือชาย ทุกเพศมีสิทธิรักกันได้ แต่สังคมแบบอนุรักษ์นิยมเช่นไทยหรืออีกหลายประเทศ กลับทำให้ความรักหยุดอยู่กับที่ ยังคงวนเวียนอยู่กับเพศชาย เพศหญิง ซึ่งเป็นความคิดที่คับแคบ แม้กระทั่งคนที่กำหนดนโยบาย หรือชนชั้นนำในสังคมก็ยังคงตีกรอบความคิด ความเชื่อแบบเดิม ส่งผลไปถึงความขัดแย้งและการก้าวไม่ทันความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ทำให้คนมองความรักในความหมายที่แคบ ซึ่งแน่นอนว่าอีกไม่นานเรื่องเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงในคนรุ่นต่อไป

ความรักคืออิสรภาพ

ความรักที่อยู่ในกรอบความเป็นหญิง ความเป็นชาย และถูกหล่อหลอมมาด้วยทัศนคติชายเป็นใหญ่ กลายเป็นนิยามของการจำกัดอิสรภาพ เป็นเรื่องของการครอบครอง เธอเป็นของฉัน ฉันเป็นของเธอ ภรรยาเป็นสมบัติของสามี และบ่อยครั้งที่เกิดการหยิบยกนิยามนี้ไปอ้างเพื่อให้ความชอบธรรมกับความรุนแรง “ที่ทำร้ายลงไม้ลงมือก็เพราะรัก” “เพราะรักจึงหึงหวง” “เพราะรักจึงต้องคอยดูแลใกล้ชิด” จริง ๆ เราต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือความรัก อะไรคือความรุนแรง จะเอาสองเรื่องนี้มาเกี่ยวกันไม่ได้

อย่ามองความรักเป็นเรื่องโรแมนติกเพียงอย่างเดียว

ในชีวิตจริงเราต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย หากเรามองความรักเพียงแง่มุมโรแมนติก แบบสังคมบริโภคนิยมที่มองแต่ความสวยงาม เราจะเห็นเพียงด้านดี จนลืมไปว่าทั้งเขาและเรามีแง่มุมที่ไม่ดีอยู่ เราต้องเข้าใจว่าไม่มีมนุษย์คนใดที่สมบูรณ์แบบ เราต่างมีข้อดี ข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น ทุกความสัมพันธ์จึงต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เอาข้อดี ข้อเสียมาคุย มาปรับกัน ส่วนจะรับข้อเสียของกันและกันได้แค่ไหนเป็นก็อีกเรื่องหนึ่ง ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี และหากความสัมพันธ์ก้าวไปถึงจุดสิ้นสุด เราเรียนรู้การเลิกราด้วยความเข้าใจ ตัดสินใจร่วมกัน ด้วยการเคารพความเป็นมนุษย์ โดยที่ไม่มีใครมีอำนาจเหนือกว่าใครและที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่นำไปสู่การใช้ความรุนแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 Nov 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 Nov 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 Sep 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy