แชร์

การดื่มเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับ และทัศนคติของชายเป็นใหญ่

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
139 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 2 มิถุนายน 2564)

ปัญหาของการดื่มเหล้าหากมองให้หลากหลายมิติ จะพบว่าแท้จริงแล้วการดื่มเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับและทัศนคติของระบบชายเป็นใหญ่ ซึ่ง “เหล้า” ก็กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายที่แสดงออกของชายเป็นใหญ่ ผู้ชายหลายคนมักจะมีความคิดทำนองว่า “โตแล้วต้องดื่มเหล้าเป็น ดื่มแล้วจะกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ดื่มเยอะไม่เมาแล้วดูเท่” เช่นเดียวกับที่คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้อธิบายไว้

“เหล้าคือสัญญะของชายเป็นใหญ่ ดื่มแล้วจะเป็นแมน แสดงความเป็นชาย มีอำนาจ มีเพื่อนฝูง แสดงออกถึงความกล้า เช่น ไปทะเลาะกับคนอื่น อะไรที่ไม่กล้าทำก็จะทำ และผู้ชายที่ดื่มจะรู้ว่าตัวเองมีอำนาจเหนือครอบครัว ภรรยาจะมายุ่งไม่ได้ เพราะเป็นพื้นที่ของเขากับเพื่อน ๆ ถ้ามายุ่งจะมีความโกรธ เมื่อภรรยาเตือนหรือแนะนำไม่ให้ดื่ม จะนำไปสู่การทะเลาะ มีปากเสียงถึงขั้นทำร้ายร่างกาย”

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าปัญหาเรื่องเหล้าจะไม่สามารถถอดรื้อหรือเปลี่ยนแปลงได้

ปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่อาจต้องใช้เวลานานเพราะการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือในการปรับทัศนคติ ปรับความคิด มุมมอง และให้ความรู้เกี่ยวกับระบบชายเป็นใหญ่ในสังคม รวมถึงวิธีการดำเนินงานต่าง ๆ นอกจากนี้จะต้องรณรงค์เรื่องความสำคัญของความเป็นธรรมในสังคมในหลายมิติ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาความยากจน การสร้างอาชีพที่มั่นคง จ้างงานที่เป็นธรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่งคงทางอาหารด้วย

เรียบเรียงจาก เสวนาออนไลน์ "โควิด-19 วงเหล้า และความรุนแรงในครอบครัว วงจรที่ไม่เปลี่ยน" วันที่ 26 พฤษภาคม 2564

< รับชมย้อนหลังได้ที่นี่ >

......


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมรณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO ร่วมนำเสนอแคมเปญ &quot;Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง&quot;
วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ปีนี้มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO บริษัทเอเจนซี่แนวหน้า นำเสนอแคมเปญ Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง โดยสื่อสารผ่านการกลับมาของ จีจี้ สุพิชชา
25 พ.ย. 2024
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy