แชร์

ผลกระทบโควิด-19 กับพื้นที่ชุมชน

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
208 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 26 พฤษภาคม 2564)

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดกระบวนการกลุ่มทำได้ยากขึ้น เมื่อทุกอย่างไม่สะดวกเช่นเดิมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ แม้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับพี่น้องในชุมชน แต่ทุกคนก็พร้อมที่จะเรียนรู้ เพราะเป้าหมายสำคัญคือการได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งในครั้งนี้เครือข่ายชุมชนทั้งในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ นนทบุรี พะเยา นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ชุมพร พื้นที่โรงงานย่านจังหวัดนครปฐมและสมุทรปราการ ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันผ่านแอปพลิเคชัน “ซูม” (Zoom) เพื่อหาทางช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

พื้นที่ชุมชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังน่าเป็นห่วง

เสียงสะท้อนจากชาวบ้านบอกว่าวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้สาหัสกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างมาก ในขณะที่พื้นที่ชุมชนต่างจังหวัดพบผู้ติดเชื้อน้อยหรือบางชุมชนก็ไม่พบเลย นอกจากนี้บางชุมชนยังสะท้อนถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการลักลอบเล่นการพนันในชุมชน หรือแม้กระทั่งการตั้งวงกินดื่ม ทำให้ต้องคอยสอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น

ตกงาน เครียด และปัญหาในการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ

ด้านผลกระทบ คนงานภาคบริการที่อยู่ในชุมชนตกงานมากขึ้น อัตราการว่างงานของคนในชุมชนก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนคนที่ติดเชื้อ อาสาสมัคร และผู้นำก็จะคอยติดต่อหน่วยงานให้ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ซึ่งในช่วงแรกมีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะหน่วยงานต่าง ๆ ยังตั้งรับไม่ทัน โยนกันไปโยนกันมา ทำให้ต้องมีการกดดันหรือวิจารณ์ บ้างก็ให้ ส.ส.ในพื้นที่ช่วยกระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านสุขภาพจิต ความเครียด ความกังวลของชาวบ้านในชุมชน รวมไปถึงแนวโน้มการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่อาจเพิ่มมากขึ้น

พื้นที่ชุมชนต่างจังหวัดระดมบริจาคข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือ

แต่ในขณะเดียวกัน อาสาสมัครในพื้นที่ต่างจังหวัดก็มีการเตรียมระดมบริจาคข้าวสาร อาหารแห้งเพื่อช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่เขตเมือง เป็นการร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกันในยามวิกฤติ ส่วนพื้นที่เมืองที่มีการทำเกษตรในพื้นที่แคบ ก็อาศัยผักที่ปลูกแบ่งปันกันในชุมชน ทำให้เห็นได้ถึงพลังในการทำงานของอาสาสมัครและแกนนำทุกคน ที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านที่ยากลำบากในตอนนี้

สิ่งเหล่านี้คือปัญหาและผลกระทบที่สะท้อนจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่จริง การแพร่ระบาดของโควิด-19 คงยังไม่คลี่คลายในเร็ววันนี้ ดังนั้นการบอกเล่าสถานการณ์ รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น และกระบวนการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในชุมชนหรือระหว่างชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เราทุกคนผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้


บทความที่เกี่ยวข้อง
8 มีนาคม 2568 วันสตรีสากล ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ
8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล จากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ
10 มี.ค. 2025
Bad Valentine เมื่อความรักกลายเป็นพิษ กับคุณนุช มณีนุช อินทสันต์
นอกจากทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ การใช้อำนาจเหนือแล้ว หลายกรณีของความรุนแรงในครอบครัวก็มาปัจจัยกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน ยาเสพติด เรื่องราวของความรักที่กลายเป็นพิษของ คุณคุณนุช มณีนุช อินทสันต์ อาสาสมัครมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
7 มี.ค. 2025
Bad Valentine เมื่อความรักกลายเป็นพิษ กับคุณฝน นันทิยา พุ่มสุวรรณ
จากความรักที่เคยคิดว่าดี แต่กลับสร้างบาดแผลทั้งร่างกายและจิตใจให้กับเธอ เรื่องราวของความรักที่กลายเป็นพิษของ คุณฝน นันทิยา พุ่มสุวรรณ อาสาสมัครมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
6 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy