แชร์

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
136 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564)

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้

ความรักและความหวัง

หลังถูกกระทำความรุนแรง ฝ่ายที่กระทำมักจะขอโอกาสแก้ตัวและให้คำสัญญาว่าจะไม่กระทำความรุนแรงอีก หรือบ่อยครั้งที่ความรุนแรงเกิดขึ้นจากการดื่มสุรา เมื่อสร่างเมาก็จะขอโทษ หรือรู้สึกผิดที่ทำลงไป ทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความหวัง หวังว่าฝ่ายชายจะปรับปรุงตัวดีขึ้น ประกอบกับความรักและความผูกพัน จึงตกอยู่ในภาวะจำยอม

เพื่อรักษาความเป็นครอบครัว

สังคมของไทยมักจะปลูกฝังว่า ครอบครัวที่ดีต้องเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ มีทั้ง พ่อ แม่ และลูก เพื่อรักษาหน้าตาทางสังคม ทำให้ฝ่ายหญิงต้องอดทน ไม่กล้าเดินออกจากปัญหา เพราะกลัวสังคมจะตราหน้าว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี หรือเคยผ่านการหย่าร้าง

อดทนเพื่อลูก

ฝ่ายหญิงมักจะกลัวว่าหากแยกทางออกมาแล้วลูกจะมีปมด้อย ขาดความอบอุ่น ไม่มีพ่อเหมือนครอบครัวอื่น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของลูกในอนาคต

กลัวเกิดปัญหาด้านการเงิน

ผู้หญิงหลายคนกลัวว่าหากเลิกกันแล้วจะไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองหรือลูกได้ บางคนไม่ได้ทำงาน อาศัยเงินจากสามี เป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูกเพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่กล้าที่จะแยกทาง เพราะกลัวจะเกิดปัญหาทางด้านการเงินขึ้น

คิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว

สังคมไทยมักคิดว่าเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเอาตัวเข้าไปยุ่ง หรือไม่ควรบอกให้ใครรู้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนต้องอดทนต่อความรุนแรง ไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอก หรือไม่กล้าขอความช่วยเหลือกับใคร

เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้ ผลสำรวจของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ระบุว่า ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง 3 ใน 4 ถูกกระทำซ้ำและทวีความรุนแรง อีกทั้งยังมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลในปีนี้ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลและภาคีเครือข่ายขอชวนทุกทานร่วมกันรณรงค์ "ความรุนแรงในบ้าน ให้มันจบที่ครั้งแรก" เพื่อหยุดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก

นอกจากนี้ยังสามารถรับชม Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ที่สร้างจากประสบการณ์ของผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรง ได้ที่

▶ Mueum of first time

แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว โทร.1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล 02 513 2889

#ให้มันจบที่ครั้งแรก #มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล #museumof1sttime #วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมรณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO ร่วมนำเสนอแคมเปญ "Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง"
วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ปีนี้มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO บริษัทเอเจนซี่แนวหน้า นำเสนอแคมเปญ Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง โดยสื่อสารผ่านการกลับมาของ จีจี้ สุพิชชา
25 พ.ย. 2024
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy