แชร์

ละครไทยกับมายาคติข่มขืน เมื่อผู้ถูกข่มขืนกลายเป็นคนผิด

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
132 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2564)

จากฉากละครเมียจำเป็นที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก โดยมีฉากนางร้าย (เบสท์) ถูกคนงานที่พระเอกจับได้ว่าขายใบกระท่อมให้พวกค้ายา (เอ็กซ์) จับตัวและถูกข่มขืน แถมยังถ่ายคลิปแบล็กเมล์ไว้ ซึ่งนางร้าย (เบสท์) เสนอแผนใหม่ให้ปล่อยตัวเธอแล้วจะหลอกล่อนางเอกมาให้ผู้ร้ายจนสำเร็จ และมีฉากนางเอก (พาย) ถูกคนร้าย (เอ็กซ์) พยายามข่มขืน จับมัดไว้ในกระท่อมกลางป่า ฉีกเสื้อผ้า พร้อมถ่ายคลิป ข่มขู่จะนำคลิปไปประจาน และเมื่อพระเอก ครอบครัวรู้ ได้แสดงท่าทีรังเกียจอย่างรุนแรง

ละครมีหลายประเด็นไม่สมควรนำเสนอเพราะเป็นการผลิตซ้ำการข่มขืน การใช้ความรุนแรง การแสดงท่าทีหรือใช้คำพูดรังเกียจ การถ่ายคลิปประจาน และการตั้งคำถามผู้ถูกข่มขืน ซึ่งถ้าสังคมมีความเข้าใจเรื่องความรุนแรงทางเพศสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ประเด็นการโทษผู้ถูกข่มขืนจึงเป็นการกระทำหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรงทางอ้อม ผลิตซ้ำการตีตราผู้ถูกข่มขืน ลดทอนความรุนแรงให้กลายเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติ หรือเรื่องตลกขำขัน

การโทษผู้ถูกข่มขืน (Victim Blaming) เป็นทัศนคติที่กล่าวโทษผู้ถูกข่มขืนว่ามีส่วนในการทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ขึ้น ทัศนคตินี้มุ่งไปที่ความผิดของผู้ถูกข่มขืนไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน แทนที่จะเป็นความผิดของผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งการโยนความรับผิดชอบไปให้ผู้ถูกข่มขืน เช่น ผู้หญิงต้องไม่ไปที่เสี่ยงหรือที่เปลี่ยว ห้ามแต่งกายล่อแหลม สังคมเชื่อว่าเรื่องเพศทำให้ผู้หญิงแปดเปื้อน ผู้หญิงไม่ควรแสดงอาการพร้อมหรือยินดีในการร่วมเพศ เพราะหากแสดงเช่นนั้นจะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่ดี และจะถูกลงโทษทางสังคมอย่างรุนแรงมาก

สิ่งที่น่ากังวล คือ Victim Blaming เป็นการโยนความรับผิดชอบให้ผู้ถูกข่มขืน ทำให้ผู้ถูกข่มขืนไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี ถูกตีตราและโทษตัวเอง จนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายหรือภาวะเจ็บป่วยทางจิตในที่สุด นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดอคติต่อการดำเนินคดีโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปจนถึงการถูกสังคมผลักไสไม่ต้อนรับ (Social Exclusion)

ดังนั้น ละครหรือภาพยนตร์ถือเป็นการผลิตซ้ำ ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับการข่มขืนมากขึ้น ดารานักแสดงรวมถึงเนื้อหาละครที่ตอกย้ำฉากข่มขืน ทัศนคติผิด ๆ เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่าคนจำนวนมากในสังคมไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิผู้หญิง เสรีภาพในการแต่งกาย หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ว่า “มนุษย์ทุกคนไม่สมควรถูกข่มขืนไม่ว่ากรณีใดก็ตาม”


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy