share

ผู้ชายทำงานบ้านไม่ควรถูกมองเป็นเรื่องตลก ควรเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำได้

Last updated: 13 Jun 2024
70 Views
 ผู้ชายทำงานบ้านไม่ควรถูกมองเป็นเรื่องตลก ควรเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำได้

(เผยแพร่บทความเมื่อ 5 สิงหาคม 2563)

มุขตลกที่คุยกันในวงเพื่อน หรือแม้แต่การวางบทบาทของตัวละครผ่านสื่อ ที่ทำให้ผู้ชายที่ทำงานบ้านถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “คนกลัวเมีย” หากมองเพียงผิวเผินอาจจะเข้าใจว่าเป็นการหยอกเย้ากันเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ภาพจำเหล่านี้กลับยิ่งตอกย้ำให้รู้สึกว่าผู้ที่ชายทำงานบ้านเป็นเรื่องน่าอาย ไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรทำ หรืออาจจะหนักถึงขั้นรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ไร้ซึ่งอำนาจ

อันที่จริงเมื่อเอ่ยถึง “งานบ้าน” เราจะเข้าใจโดยอัตโนมัติว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิง เพราะสังคม วัฒนธรรมของไทยถูกกำหนดด้วยภาพจำที่ชินตามาหลายช่วงอายุคนว่าผู้ชายจะต้องเป็นผู้นำ เข้มแข็ง ทำงานนอกบ้าน หาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงจะต้องเรียบร้อยอ่อนโยน เลี้ยงลูก ปรนนิบัติสามี ดูแลความเรียบร้อยในบ้าน แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงสังคมมีการยอมรับและเข้าใจเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น จึงทำให้เราได้เห็นภาพผู้ชายเลี้ยงลูกหรือช่วยทำงานบ้าน แบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังคงมีความคิดความเชื่อเดิม ๆ หลงเหลืออยู่ เส้นแบ่งความเป็นเพศ (Gender) ทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ ที่สอนว่าผู้ชายต้องมีอำนาจเหนือ การทำงานบ้านเป็นงานที่ไม่มีมูลค่าจึงไม่ใช่งานที่ผู้ชายจะทำได้อย่างมีศักดิ์ศรี การล้อเลียน และทำให้ดูเป็นเรื่องตลกจึงยังคงเกิดขึ้น

จากผลสำรวจความคิดเห็นต่อการทำงานบ้านของกลุ่มผู้ชาย อายุ 18-50 ปี จำนวน 1,995 ตัวอย่าง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่า ผู้ชาย 33.2% มีความเชื่อที่ว่า งานบ้านเป็นหน้าที่ผู้หญิง โดย 53.5% มองว่าผู้หญิงที่ดีต้องทำงานบ้าน เป็นแม่ศรีเรือน อย่าให้บกพร่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้ชายกว่า 73.3% มองว่าถึงเวลาเปลี่ยนแปลงให้งานบ้านเป็นงานของทุกคน และสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย

นอกจากนี้จากการทำโฟกัสกรุ๊ปผู้ชายอายุ 18-90 ปี จากพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 18 คน พบว่าผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะถูกเพื่อนล้อว่ากลัวเมีย หากต้องทำงานบ้าน และยังมีความเชื่อว่างานบ้านต้องเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเท่านั้น แต่ก็มีปากเสียงกันในครอบครัวจากการที่ปล่อยให้ภาระหน้าที่ในบ้านเป็นของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียวเช่นกัน ในขณะที่ผู้ชายอายุน้อยกว่า 30 ปี เรียนรู้การแบ่งบทบาทหน้าที่ชายหญิงมาจากแบบเรียน ตัวอย่างจากครอบครัว ทำให้ยังคงคิดว่างานบ้านเป็นของผู้หญิง แต่ก็สามารถช่วยเหลือกันได้ ในขณะที่เรื่องของการโดนล้อ แซวกันในกลุ่มเพื่อนฝูงว่ากลัวเมีย ก็ยังคงเกิดขึ้น และสร้างความอับอายอยู่บ้าง

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของคนในสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญ การทำงานบ้านต้องไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่ใช่เรื่องตลก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องแซวกันให้เกิดความอับอาย งานบ้านต้องเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำได้ โดยไม่มีเส้นแบ่งความเป็นเพศ บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ควรจะหยิบมาเป็นประเด็น แต่อย่าลืมว่าสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะสร้างเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศ ลดอำนาจชายเป็นใหญ่และเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดความรุนแรงในครอบครัวได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 Nov 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 Nov 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 Sep 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy