แชร์

ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent) 3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT

อัพเดทล่าสุด: 7 พ.ย. 2023
3663 ผู้เข้าชม

จะว่าไปแล้วสังคมไทย เพิ่งจะพูดถึงเรื่อง Consent หรือการยินยอม ในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี่เอง ที่ผ่านมาเราอยู่ในสังคมชายเป็นใหญ่ที่ให้อำนาจแก่ผู้ชายในการกำหนดความสัมพันธ์ทางเพศ ในขณะหน้าที่ปฏิเสธตกเป็นของผู้หญิง บ้างก็ว่าเป็นผู้หญิงให้ปฏิเสธพอเป็นธรรมเนียม กลายเป็นว่าสังคมมองผู้หญิงที่ปฏิเสธเพียงแค่แกล้งทำ สิ่งเหล่านี้ส่งต่อถึงวัฒนธรรมการกล่าวโทษเหยื่อ และเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ สังคมจะเกิดการตั้งคำถามกับผู้หญิงก่อนเสมอ

Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน เข้าใจว่าระดับของเพศสัมพันธ์ทำได้แค่ไหน และยอมรับในการตัดสินใจของอีกฝ่าย แต่สังคมไทยแทบจะไม่ได้สื่อสารเรื่องนี้กันเลย ผู้หญิงถูกตีกรอบความเป็นหญิง ทำให้ไม่สามารถสื่อสารในสิ่งที่ตัวเองต้องการออกมาได้ กลายเป็นการให้อำนาจแก่ฝ่ายชายในการกำหนดความสัมพันธ์ทางเพศ แม้ผู้หญิงจะไม่ยินยอมก็ไม่สามารถปริปากบอกได้ และแน่นอนว่าเมื่อไม่ยินยอมก็เท่ากับ การข่มขืน หรือการล่วงละเมิดทางเพศ

หัวใจสำคัญของ Consent คือการสื่อสาร แต่สิ่งที่ทำให้การสื่อสารผิดพลาดที่สุดคือการตีความจากภาษากาย เข้าใจไปเองว่า สีหน้าเรียบเฉย การไม่ตอบโต หรือการอยู่ในภาวะเมาสุรา คือการยินยอม

อาจารย์ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การตีความจากภาษากาย หรือ Nonverbal นำมาสู่ความผิดพลาดในการตีความของคู่ความสัมพันธ์ ในต่างประเทศมีการณรงค์ด้วย 3 คำ ที่เราควรจะเอามาใช้นั่นคือ

Ask ถามก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
Listen ฟังว่าคู่ของเรามีความรู้สึกอย่างไร อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
Respect เคารพในการตัดสินใจของอีกฝ่าย

ในขณะเดียวกันการยินยอมต้องเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีความสัมพันธ์ทางเพศ หากระหว่างนั้นมีการแสดงท่าทีไม่สบายใจ หรือมีการปฏิเสธ ต้องกลับมาที่ 3 คำ นั่นคือ Ask-Listen-Respect อีกครั้ง นอกจากนี้การยินยอมในครั้งนี้ก็ไม่ได้แปลว่ายินยอมตลอดไปด้วยเช่นกัน


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy