แชร์

วิธีการออกจากความสัมพันธ์ที่รุนแรง

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
1203 ผู้เข้าชม

สำหรับผู้ที่ถูกทำร้าย ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การก้าวออกจากความสัมพันธ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้กระทำมักล่อหลอกให้ตายใจเพื่อควบคุม จากนั้นอันตรายต่อชีวิตจะเกิดขึ้น หากตกเป็นผู้ถูกกระทำไม่จำเป็นต้องสู้เพียงลำพัง ควรหาที่พึ่ง เพราะการช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้รอดจากความรุนแรงในครอบครัวได้

เมื่อถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลมีข้อแนะนำดังนี้

1. ขอความช่วยเหลือ
ออกจากสถานการณ์ความรุนแรงให้เร็วที่สุดหากรู้สึกไม่ปลอดภัย และขอความช่วยเหลือจากคนที่ไว้ใจ หากกรณีได้รับบาดเจ็บ ให้ติดต่อหน่วยงานช่วยเหลือฉุกเฉินหรือตำรวจ

2. เชื่อมั่นในคุณค่า ศักยภาพของตนเอง
ผู้ถูกกระทำที่ถูกกระทำต่อเนื่อง ยาวนาน ยากที่จะทำให้มีความมั่นใจในตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ให้คิดว่า การกระทำความรุนแรงไม่ใช่สิ่งที่ควรยอมรับ ไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นใครก็ตาม

3. ศึกษาข้อมูล
ควรหาความรู้ในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงในครอบครัว รวมไปถึงเตรียมพร้อมเรื่องการหลบหนี ที่อยู่ชั่วคราว รวมถึงเอกสารสำคัญต่าง ๆ

4. ใช้กฎหมายในการคุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว เพื่อป้องกันการถูกกระทำซ้ำ
ความรุนแรงในครอบครัวมักเกิดขึ้นซ้ำ บางรายแม้จะแยกตัวออกมาได้ แต่อาจถูกระราน ไม่ยอมเลิกรา จึงควรใช้กฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันการถูกกระทำซ้ำ

หากเกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่มากขึ้นส่งสัญญาณเตือนอย่ารอช้า รีบออกจากสถานการณ์นั้น

อย่างไรก็ตาม ผู้กระทำส่วนใหญ่มักจะทำให้ผู้ถูกระทำรู้สึกแย่ต่อตัวเอง ไม่มีคุณค่า ไม่มีใครต้องการ และสมควรได้รับการกระทำเช่นนี้ ดังนั้นสัญญาณเตือนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เราตั้งสติและตระหนักรู้ ไม่ควรมองข้ามและควรนำตัวเองออกมาจากสถานการณ์ไม่ปลอดภัยเพื่อขอความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมรณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO ร่วมนำเสนอแคมเปญ "Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง"
วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ปีนี้มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO บริษัทเอเจนซี่แนวหน้า นำเสนอแคมเปญ Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง โดยสื่อสารผ่านการกลับมาของ จีจี้ สุพิชชา
25 พ.ย. 2024
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy