แชร์

5 สัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
759 ผู้เข้าชม
5 สัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง

ข่าว น้องนุ่น ถูกสามีฆ่าก่อนเผาศพอำพรางคดี  https://www.sanook.com/news/9250042 ขณะเกิดเหตุมีการนำลูกน้อยมาอยู่ในที่เกิดเหตุ ถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่ใช่กรณีสุดท้ายแน่นอน
องค์การสหประชาชาติ ระบุว่าประเทศไทยติด 1 ใน 10 ของโลกในการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าความรุนแรงในครอบครัวปี 2565 ที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ มีแนวโน้มการก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า โดยมีรายงานข่าวถึง 1,131 เหตุการณ์ มีข่าวฆ่ากันตายถึง 534 เหตุการณ์

ในความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา คู่รัก หรือแฟน หากเกิดปัญหา ที่เริ่มมีสัญญาณว่าอาจจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง จะมีสิ่งที่สังเกตได้หรือสัญญาณเชิงพฤติกรรมและการแสดงออก โดยมูลนิธิฯ มี 5 สัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงสัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง คือ
1. การแสดงความหึงหวงในทุกอย่างที่คุณทำ เกินขอบเขต
2. การควบคุมบังคับไม่ให้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น การแต่งตัว การคบเพื่อน การสื่อสารกับเพื่อน หรือควบคุมการทำกิจกรรมทางสังคม บางรายควบคุมทางการเงิน
3. การแสดงออกความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เช่น เช็คตลอดเวลาว่าอยู่ทีไหน ทำอะไร และอยู่กับใคร ใครที่เราสามารถคบได้หรือไม่ได้ หากไม่ทำตามจะมีโกรธ หรือส่งข้อความทักหาตลอดเวลา
4. ข่มขู่ ด่าทอ ทำลายข้าวของ ข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงกับครอบครัว เพื่อน สัตว์เลี้ยง
5. การทำร้ายร่างกาย เช่น ใช้กำลังประทุษร้ายบังคับให้ทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และทำร้ายคนรอบข้างที่เรารัก เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือสัตว์เลี้ยง

เมื่อเกิดเหตุความรุนแรงในครั้งแรก ๆ ผู้ถูกกระทำความรุนแรงจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจที่จะไม่บอกคนรอบข้างว่าตัวเองถูกกระทำ เพราะคาดหวังว่า เหตุการณ์จะหยุดอยู่แค่นี้ ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว มักเกิดซ้ำ และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการสังเกตสัญญาณของความรุนแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ขณะเดียวกันการก้าวออกจากความสัมพันธ์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว บทความถัดไปเราจะมาแนะนำวิธีการจัดการ เมื่อพบสัญญาณความรุนแรง หรือถูกทำร้ายร่างกาย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 ก.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy