แชร์

คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 16 ผู้ชายต้นแบบที่ช่วยหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
370 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 13 ธันวาคม 2565)

เว็บไซต์ thepixelproject ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินงานด้านการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในระดับโลก ได้คัดเลือกผู้ชายที่เป็นต้นแบบในการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง รุ่นที่ 4 ในปี 2021 จำนวน 16 คน โดย คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้ด้วย

เว็บไซต์ thepixelproject ได้โพสต์ข้อความว่า

“ความรุนแรงต่อผู้หญิงถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องทำโดยผู้หญิงและเพื่อผู้หญิง อย่างไรก็ตามความรุนแรงต่อผู้หญิงส่งผลกระทบทางลบต่อชุมชนและสังคม ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะขจัดปัญหาเหล่านี้ออกไปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของผู้ชายและเด็กผู้ชาย”

“ในปีของการรณรงค์ 16 วัน นักกิจกรรมแห่งการต่อต้านความรุนแรงทางเพศ เราได้นำเสนอผู้ชายต้นแบบ 16 คนที่ช่วยหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง ผู้ชายที่ทำงานในการสร้างสรรค์โลกที่เท่าเทียมทางเพศให้มากขึ้น"

"ผู้ชายเหล่านี้เชื่อว่า การทำให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงหมดไป คือการต่อสู้และควรให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมไม่เฉพาะเพียงผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายหลายคนตระหนักว่า พิษจากความเป็นชายและชายเป็นใหญ่ ส่งผลร้ายกับเด็กผู้ชายและผู้ชาย บางคนทำงานโดยตรงกับเด็กชายและผู้ชายเพื่อสร้างความเข้มแข็งเพื่อป้องกันความรุนแรงทางเพศจากรากฐาน นอกจากนี้เรายังพิจารณาจากผู้ชายที่ออกมาสื่อสารประเด็นนี้ต่อสาธารณะ เช่น การประท้วง ดนตรี และใช้เสียงของเขาเพื่อแสดงจุดยืนและนำประเด็นความรุนแรงเพศออกสู่สังคม”

“เราหวังว่าผู้ชายต้นแบบ 16 คน รุ่นที่ 4 ที่เราคัดเลือกมา จะเป็นตัวอย่างของความเป็นชายเชิงบวกที่สร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้ชายและเด็กผู้ชายทั่วโลกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง”

“ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงไปด้วยกัน”
นอกจากนี้ เว็บไซต์ thepixelproject ยังยกบางช่วงของบทสัมภาษณ์จากคุณจะเด็จ ประกอบบทความที่ลงในเว็บไซต์ด้วย “สำหรับผู้ชายและเด็กผู้ชาย การไปสู่โลกที่เท่าเทียม สิ่งแรกคือการที่พวกเขาจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ องค์กรของเราทำงานให้ประเด็นเพศสภาพจับต้องได้ เช่น การเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานบ้านว่าสามารถทำได้ทุกเพศ และเป็นจุดเริ่มต้นในการช่วยให้ผู้ชายเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ”

......

* ที่มา *

เว็บไซต์ The Pixel Project


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy