แชร์

นายทหารที่ใช้อำนาจพยายามข่มขืนผู้เสียหายในบ้านพัก

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
433 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 23 กันยายน 2565)

สถานการณ์การล่วงละเมิดทางเพศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้กระทำเป็นผู้ที่มีอำนาจ เพียงระยะเวลาไม่ถึงห้าเดือนที่ผ่านมา เราพบว่ามีนักการเมืองที่ล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงนับสิบราย ต่อด้วยนักการเมืองท้องถิ่น หลานนักการเมือง และยังมีข้าราชการ ครู ทหาร ตำรวจ พระสงฆ์ ซึ่งล้วนเป็นผู้มีอำนาจ สะท้อนภาพการใช้อำนาจเหนือ และอำนาจชายเป็นใหญ่ต่อผู้กระทำที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่า

อำนาจนิยมในสังคมไทยที่ระบบยุติธรรมปกติล้มเหลว ใช้ไม่ได้ผล ผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่ใช้สื่อกระแสหลัก และสื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือสื่อสาร เพื่อขอความช่วยเหลือ เผยแพร่ข้อมูลให้ระบบยุติธรรมทำงานและคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ในขณะที่บางส่วนเลิกใช้ระบบยุติธรรมและเลือกที่จะนิ่งเงียบ

เช่นเดียวกับกรณีล่าสุดที่นายทหารใช้อำนาจพยายามข่มขืนผู้เสียหายในบ้านพัก ผู้ถูกกระทำต้องพยายามอย่างมากในการช่วยเหลือตนเองไม่ให้เรื่องเงียบ ให้ทนายช่วยแจ้งความ ใช้สื่อออนไลน์เพื่อให้สังคมสนใจ เพราะผู้กระทำมีอำนาจ มีอิทธิพล เป็นเด็กนาย และพ่อเป็นคนใหญ่โต เหมือน ๆ กับหลายกรณีของการคุกคามทางเพศในห้วงที่ผ่านมา

สำหรับกรณีที่เกิดขึ้น กองทับบกควรเข้าไปแก้ปัญหาในหน่วยงาน ดังนี้

  1. คดีนี้ต้องไม่ขึ้นศาลทหาร เนื่องจากที่ผ่านมามูลนิธิฯ เคยเข้าไปช่วยเหลือเหตุการณ์ที่คล้ายกัน แต่เมื่อขึ้นศาลทหารกลับทำอย่างล่าช้า มีแนวโน้มจะช่วยเหลือกัน
  2. หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีก ต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยผู้กระทำ ที่เป็นกลาง คณะกรรมการต้องไม่มาจากหน่วยงานเดียวกัน มีผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาร่วมพิจารณา และช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกระทำให้ได้รับความเป็นธรรม
  3. กองทับบกต้องตั้งกลไก ในการป้องกัน คุ้มครอง และเยี่ยวยา การคุกคามทางเพศในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้แก่บุคลากร
  4. ปฏิรูประบบยุติธรรมศาลทหาร ที่ไม่ใช้ศาลทหารกับการทำผิดเรื่องเพศ และความรุนแรงในครอบครัว หรือคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพลเรือน ให้นำไปสู่การใช้ศาลพลเรือน
การจะแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ และการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำ สังคมต้องเข้าใจรากของปัญหาที่มาจากความคิดแบบชายเป็นใหญ่ และการใช้อำนาจเหนือ ที่สำคัญองค์กรที่เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมของการใช้อำนาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแสดงให้สังคมเห็นว่าจริงจังต่อการแก้ปัญหานี้…แค่ไหน

บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy