แชร์

LGBTQIA+ กับปัญหาความรุนแรงทางเพศ

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
1330 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 8 สิงหาคม 2565)

ในอดีตเราอาจเข้าใจว่าปัญหาความรุนแรงทางเพศ การถูกคุกคาม ล่วงละเมิด เกิดขึ้นกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันภาพของปัญหาไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว

ช่วงที่ผ่านมามูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้รับการติดต่อและให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกกระทำที่เป็น LGBTQIA+ มากขึ้น มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้าออกมาเรียกร้อง หรือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็น เพราะมายาคติของสังคมที่ตีกรอบให้ LGBTQIA+ เป็นกลุ่มที่ “ไม่น่าจะเสียหาย” นี่คือสิ่งที่เราต้องมาตั้งคำถามกลับว่า เราเข้าใจคำว่าเท่าเทียมเพียงพอแล้วหรือยัง

สังคมสอนเรื่องเพศด้วยกล่องความเป็นหญิง ความเป็นชาย ในขณะที่ LGBTQIA+ กลับถูกมองว่าไม่ใช่เพศที่สังคมกำหนด การสะท้อนภาพผ่านสื่อ เป็น LGBTQIA+ ต้องตลก มีอารมณ์รุนแรง มีความต้องการทางเพศสูง กล่องความเป็นเพศที่ต่างจากหญิงและชายนี่เองที่ทำให้สังคมด้อยคุณค่าและตีตรา อย่างกรณี “เปลี่ยนทอมเป็นเธอ” ที่สังคมคิดว่าเปลี่ยนทอมให้เป็นผู้หญิงได้ หากมีอะไรกับผู้ชาย สร้างวาทกรรมล้อเลียนกันจนเป็นเรื่องตลก นี่คือการกดทับเรื่องเพศ ทำให้อีกเพศหนึ่งด้อยกว่า ทำให้กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่กล้าออกมาเรียกร้องและรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขั้นกับตัวเองเป็นเรื่องน่าอาย ไม่มีทางที่สังคมจะเข้าใจได้ ยิ่งทำให้การลุกขึ้นมาสื่อสารเมื่อเกิดปัญหายากมากขึ้น

ทัศนคติแบบ “ชายเป็นใหญ่” ทัศนคติที่กดทับทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง หรือ LGBTQIA+ การให้อำนาจแก่ฝ่ายชายในการเป็นผู้นำ ผู้ชายต้องเข้มแข็ง ห้ามร้องไห้ และมีอำนาจเด็ดขาดในหลายบริบท พฤติกรรมบางอย่าง เช่น ดื่มเหล้า เจ้าชู้ ใช้กำลัง ผู้ชายทำได้ สังคมมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากเป็นผู้หญิงสังคมจะมองอีกด้านทันที หรือหากกรณีที่ผู้ชายถูกกระทำถือเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย “เพราะสังคมมองว่าผู้ชายไม่มีอะไรที่สึกหรอ” จนทำให้ “ความเป็นชาย” ถูกแสดงออกด้วยอำนาจที่เหนือกว่า

เมื่ออีกฝ่ายรู้สึกมีอำนาจเหนือ สามารถควบคุม จัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ รวมไปถึงการรู้สึกว่าตัวเองมีบทบาททางเพศที่เหนือกว่า ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงทางเพศ ซึ่งแน่นอนว่าคู่รัก LGBTQIA+ ก็เกิดปัญหานี้ไม่ต่างจากที่เกิดกับผู้หญิง

ไม่ใช่แค่กรณีการทำร้ายร่างกายหรือข่มขืนเท่านั้น ยังรวมถึงการคุกคามทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา คำพูดหรือการสัมผัส หลายกรณีเกิดขึ้นในองค์กร สถานที่ทำงาน โดยมักถูกมองเป็นเรื่องตลกขำขัน หรือย้อนกลับมาคำเดิมนั่นคือ “ไม่น่าจะเสียหาย” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหากอีกฝ่ายไม่ยินยอม นั่นถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับเพศใดก็ตาม

อีกกรณีที่น่าสนใจคือกรณีของผู้ชายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบุรุษพยาบาลขณะที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ส่งผลให้ผู้ถูกกระทำตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล จนถึงขั้นไม่ยอมมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก (ผู้ถูกกระทำมีคู่รักเป็นผู้หญิง) หนำซ้ำยังถูกกดทับจากสังคมและโดยเฉพาะผู้มีอำนาจด้านกฎหมายด้วยความคิดว่า “ไม่เห็นต้องแจ้งความ เป็นผู้ชายไม่น่าจะเสียหาย!” กรณีนี้ฉายภาพให้เราเห็นว่าสังคมยังมีทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่และส่งผลไปถึงกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่การถูกล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ และสร้างบาดแผลได้ไม่แพ้กัน

กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อฝ่ายชาย หรือ LGBTQIA+ เป็นฝ่ายถูกกระทำ สังคมจึงไม่ให้ความเห็นใจเพราะติดกับดักภาพจำของ “ชายเป็นใหญ่”

ในฐานะที่ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม สิ่งแรกที่เราควรช่วยกันและให้ความสำคัญคือ “การเคารพสิทธิและให้เกียรติผู้อื่น” ไม่ตัดสินใครด้วยกล่องความเป็นหญิง ความเป็นชาย รวมไปถึงการถอดรื้อทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ออกจากสังคม

ทั้งนี้บทบาทของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลคือการสื่อสารต่อสังคมเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงปัญหาความรุนแรงทางเพศที่มาจากทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ สนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ถูกกระทำในทุกมิติ อย่างเท่าเทียม ทั้งยังเรียกร้องให้เกิดการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เข้ากับบริบทสังคมในปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงทางเพศในทุกระดับ

หากเกิดปัญหาความรุนแรงทางเพศ การถูกคุกคาม หรือล่วงละเมิด ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม สามารถขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้ เรามีนักสังคมสงเคราะห์และนักกฎหมายที่คอยดูแล ให้คำแนะนำและช่วยดำเนินการจนจบกระบวนการ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถูกกระทำจะสามารถผ่านเรื่องราวนี้ไปได้อย่างไม่โดดเดี่ยว


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy