share

เรียกร้องสิทธิที่ไม่เป็นธรรม ลาคลอด 90 วัน ของคนงานหญิงไทย

Last updated: 13 Jun 2024
378 Views
เรียกร้องสิทธิที่ไม่เป็นธรรม ลาคลอด 90 วัน ของคนงานหญิงไทย

(เผยแพร่บทความเมื่อ 8 มีนาคม 2565 )

8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Working Women's Day) ย้อนกลับไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว คนงานหญิงในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องความไม่เป็นธรรมจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีดจากนายทุน ต้องทำงานด้วยชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน สภาพการทำงานที่เลวร้าย ไม่มีความปลอดภัย ค่าแรงต่ำ โดยการเรียกร้องเริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 ระยะเวลากว่า 50 ปีแห่งการต่อสู้นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 นั่นคือประกาศรับรองข้อเรียกร้องและเกิดระบบการทำงานที่เป็นธรรม ที่เรียกว่าระบบ 3/8 ซึ่งได้แก่ ลดการทำงานเหลือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ให้เวลาศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังทำให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

สำหรับเมืองไทย ปี 2534 คนงานหญิงไทยเริ่มเรียกร้องการลาคลอด 90 วัน จากที่ลาคลอดได้เพียง 30 วัน เมื่อคนงานที่ตั้งครรภ์ในยุคนั้นต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ บางคนต้องเอาผ้ารัดหน้าท้องเพราะกลัวนายจ้างรู้ว่าตั้งครรภ์ ถ้ารู้จะถูกไล่ออก คนงานหญิงหลายคนแท้งลูก จากสภาพการทำงานที่เลวร้าย ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน จึงนำมาสู่การเรียกร้องสิทธิลาคลอด 90 วัน และประสบความสำเร็จในปี 2536 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2536

การได้มาซึ่งสิทธิลาคลอด 90 วัน เป็นการต่อสู้ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายแรงงานหญิง องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ด้านผู้หญิง ด้านเด็ก องค์กรแรงงาน สหภาพแรงงาน นักวิชาการ นักการเมืองหญิง รวมไปถึงสื่อมวลชน ถือเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม แต่อย่างไรก็ตามคนรุ่นหลังก็ควรออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิลาคลอดเพิ่มขึ้น รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้หญิงควรได้รับด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 Nov 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 Nov 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 Sep 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy