แชร์

อุทาหรณ์ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
204 ผู้เข้าชม


(เผยแพร่บทความเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563)

ย้อนกลับเมื่อ เวลา 16.00 น. ของวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 หรือ 27 ปีที่แล้ว เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคอเดอร์ (บริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ จำกัด) ทำให้โรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยอาคาร 5 ชั้น จำนวน 4 อาคารถล่มทับคนงานนับร้อยชีวิต

จากการสอบสวนพบว่า เกิดจากความประมาทของคนงานที่สูบบุหรี่ในโรงงานทำให้เกิดไฟลุกไหม้วัสดุที่ผลิตตุ๊กตา ทั้งเศษผ้า วัสดุไวไฟ โดยขณะเกิดเหตุไม่มีการประกาศเตือน ประกอบกับเสียงเครื่องจักรที่กำลังทำงานทำให้คนงานไม่ทราบว่ามีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น ทั้งที่ไฟไหม้ไปแล้วกว่าครึ่งชั่วโมง รวมถึงการก่อสร้างโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานจากการที่นายจ้างต้องการประหยัดต้นทุน ก่อสร้างด้วยโครงเหล็กสำเร็จรูปที่ไม่ทนไฟทำให้ตึกพังถล่ม นอกจากนี้ประตูทางออกฉุกเฉินยังไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีบันไดหนีไฟ ไม่เคยซักซ้อมการหนีไฟอย่างเป็นระบบ อีกทั้งโรงงานแห่งนี้ยังเคยเกิดไฟไหม้มาแล้วถึง 3 ครั้ง

ในขณะนั้นมีแรงงานกว่า 1,400 คนที่ต้องหนีตายออกจากโรงงาน แรงงานหญิงบางคนต้องวิ่งออกมาทั้งที่กำลังตั้งครรภ์ บางคนตัดสินใจกระโดดจากชั้นบนของตึก ทั้งไฟไหม้และตึกถล่มทำให้มีแรงงานเสียชีวิต 188 ราย บาดเจ็บ 459 คน หลายคนกลายเป็นผู้พิการ เป็นอัมพาตตลอดชีวิต และมีเด็กที่ต้องกำพร้าพ่อแม่อีกหลายราย เกิดปัญหาครอบครัว สามีของแรงงานหญิงที่เสียชีวิตกลายเป็นคนติดเหล้า เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกมาก

โศกนาฏกรรมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการต่อสู้ของแรงงาน เพื่อให้นายจ้างมีความรับผิดชอบและสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ส่งผลให้รัฐบาลประกาศให้ทุกวันที่ 10 พฤษภาคม เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เพื่อย้ำเตือนให้นายจ้างใส่ใจต่อการป้องกันอันตรายและสร้างความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานทุกคน นอกจากนี้ยังมีการเสนอกฎหมายด้านความปลอดภัยโดยความร่วมมือของกลุ่มแรงงาน NGO นักวิชาการ สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ รัฐ นายจ้าง และลูกจ้างร่วมกันผลักดันกฎหมายฉบับนี้ ทำให้เกิดเป็นพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 และมีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ขึ้นต่อมา ซึ่งเน้นการดำเนินงานด้านวิชาการและฝึกอบรม

แต่แม้จะมีกฎหมายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ เพื่อป้องกันอันตรายและโรคจากการทำงาน แต่การบังคับใช้กลับไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรโดยเฉพาะกับกลุ่มแรงงานนอกระบบและกฎหมายก็เอื้อมมือเข้าไปดูแลไม่ทั่วถึงจากปัญหาข้อจำกัดของภาครัฐ รวมถึงแม้แรงงานเจ็บป่วยก็เข้าถึงการใช้สิทธิค่อนข้างยาก นอกจากนี้ยังมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ทุ่มเททำงานหนักเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในราคาถูก เกิดผลกำไรต่ออุตสาหกรรมมากที่สุด แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง และมักถูกมองข้ามจากภาครัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังคงต้องร่วมกันต่อสู้และหาทางออกกันต่อไป

......

ที่มา *
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1476850

https://www.tosh.or.th/index.php/blog

https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/325244


บทความที่เกี่ยวข้อง
8 มีนาคม 2568 วันสตรีสากล ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ
8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล จากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ
10 มี.ค. 2025
Bad Valentine เมื่อความรักกลายเป็นพิษ กับคุณนุช มณีนุช อินทสันต์
นอกจากทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ การใช้อำนาจเหนือแล้ว หลายกรณีของความรุนแรงในครอบครัวก็มาปัจจัยกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน ยาเสพติด เรื่องราวของความรักที่กลายเป็นพิษของ คุณคุณนุช มณีนุช อินทสันต์ อาสาสมัครมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
7 มี.ค. 2025
Bad Valentine เมื่อความรักกลายเป็นพิษ กับคุณฝน นันทิยา พุ่มสุวรรณ
จากความรักที่เคยคิดว่าดี แต่กลับสร้างบาดแผลทั้งร่างกายและจิตใจให้กับเธอ เรื่องราวของความรักที่กลายเป็นพิษของ คุณฝน นันทิยา พุ่มสุวรรณ อาสาสมัครมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
6 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy