แชร์

อย่าคิดว่าคนรักเป็นสมบัติของเรา

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
79 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 2 เมษายน 2563)

หลายคนคิดว่าคนรักเป็นสมบัติของตัวเอง รู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ อยากให้ทำอะไรตามที่ตัวเองต้องการ ตีกรอบกับการใช้ชีวิตของอีกฝ่าย หึงหวง รู้สึกไม่พอใจเมื่อถูกตีตัวออกห่างแม้จะเลิกรากันไปแล้ว จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงและหนักสุดถึงขั้นฆ่ากัน

ย้อนกลับไปดูผลสำรวจข่าวความรุนแรงบนหน้าหนังสือพิมพ์ ในปี 2561 โดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่า มีข่าวความรุนแรงในครอบครัวกว่า 623 ข่าว

• เป็นข่าวการฆ่ากันถึง 61.64% ฆ่าตัวตาย 14.19% ทำร้ายกัน 14.45% ซึ่งมากกว่าปีก่อน ๆ โดยเฉพาะข่าวการฆ่ากันเกิดขึ้นมากกว่าปี 2559 ถึง 158 ข่าว

• การฆ่ากันพบว่าสามีเป็นผู้กระทำต่อภรรยา 73.3% โดยใช้ปืนยิง 49.7% ใช้มีด/ของมีคม 32.8% ใช้ของแข็ง/ไม้หน้าสาม 6.6% ตบตีทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต 4.4%

• สำหรับคู่รักที่เป็นแฟนกันพบว่าฝ่ายชายกระทำต่อฝ่ายหญิง 58.2% กระทำต่อผู้เกี่ยวข้อง 32.8%

• สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการหึงหวง ระแวง นอกใจ 55.7% ง้อแต่ไม่คืนดี 20.8% เมาเหล้า/ยาเสพติด 10.9%

หากเรายังไม่ปรับเปลี่ยนฐานคิด ยังคิดว่าคนรักเป็นสมบัติของตัวเอง ใช้อำนาจแบบชายเป็นใหญ่ ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความรักก็อาจนำไปสู่ความรุนแรงเช่นเดียวกับเหตุการณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมรณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO ร่วมนำเสนอแคมเปญ "Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง"
วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ปีนี้มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ BBDO บริษัทเอเจนซี่แนวหน้า นำเสนอแคมเปญ Bring Back Second Chance Of Life คืนโอกาสดี ๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง โดยสื่อสารผ่านการกลับมาของ จีจี้ สุพิชชา
25 พ.ย. 2024
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy