แชร์

เพจรับอุปการะเด็ก กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้อง

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
156 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 11 กันยายน 2562)

ใครที่ติดตามข่าวสารออนไลน์เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 คงจะตกใจกับข่าว เฟสบุ๊คเพจที่รับอุปการะเด็กจากแม่ที่ท้องไม่พร้อม มีการรีวิว แจ้งราคา นำข้อมูล ภาพถ่ายของเด็กโพสต์อย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องตรวจสอบกันต่อไปว่ามีการกระทำลักษณะนี้จริงหรือไม่ ในขณะที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “หากนี่คือเรื่องจริง จะถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดฐานค้ามนุษย์ รวมถึงการโพสต์โฆษณาเพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติ และการเผยแพร่รูปภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กอีกด้วย” 

(อ้างอิง : https://hilight.kapook.com/view/193326)

ไม่ใช่แค่ความผิด แต่ยังรวมถึงผลกระทบระยะยาว

หากกรณีนี้เป็นเรื่องจริง นอกจากความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว ในระยะยาวไม่มีใครยืนยันได้เลยว่าเด็กจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การรับอุปการะเด็กผ่านช่องทางนี้ ไม่ได้มีการตรวจสอบพื้นหลังของผู้ที่รับอุปการะเด็ก และความพร้อมที่จะดูแลเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กจะถูกกระทำความรุนแรงหรือไม่ หรือเด็กจะเห็นภาพครอบครัวที่มีการกระทำความรุนแรงจนส่งผลต่อการเติบโตของเด็กหรือไม่

ท้องไม่พร้อม เลี้ยงดูบุตรต่อไปไม่ได้ ทุกเรื่องล้วนมีพื้นหลัง

เราต้องยอมรับว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ล้วนมีพื้นหลัง อย่างเช่น กรณีของแม่ที่จูงลูกไปเล่นน้ำ แต่กลับผลักลูกตกน้ำเสียชีวิต ซึ่งถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่เมื่อเราย้อนกลับไปถึงพื้นหลังของกรณีนี้ เราพบว่าผู้เป็นแม่มีความกดดัน จากการที่ถูกสามีทอดทิ้ง ถูกผลักภาระต่างๆ ให้รับผิดชอบ โดยที่หาทางออก หาที่ปรึกษาไม่ได้ หรือแม้แต่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ เกิดความกดดัน กลัวคำดูถูกจากญาติพี่น้อง สังคมรอบข้าง กลัวถูกไล่ออกจากโรงเรียน หรือการปัดความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ฯลฯ ส่งผลไปถึงการยุติการตั้งครรภ์ หรือทิ้งลูกของตัวเอง และอาจนำไปสู่กระบวนการรับอุปการะเด็กผ่านช่องทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องย้อนกลับมาที่ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ด้วย ว่ามีการให้ความช่วยเหลือ การประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงหรือไม่ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาอย่างเข้าใจและเป็นมิตร

จากกรณีเด็กที่ถูกโพสต์ลงเพจก็พบว่ามีพื้นหลังเช่นกัน

ครอบครัวของเด็กที่ปรากฎในข่าวกล่าวว่า ผู้เป็นอามีการติดต่อไปที่เพจดังกล่าวจริง เพื่อหาผู้อุปการะหลาน แต่ไม่ทราบว่ามีการนำไปโพสต์ในลักษณะนั้น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นคือ แม่ของเด็กอายุ 22 ปี มีความพิการ เป็นใบ้ หูหนวกตั้งแต่กำเนิดและตั้งครรภ์โดยไม่ทราบว่าใครเป็นพ่อ โดยแม่ของเด็กไม่สามารถบอกข้อเท็จจริงใดๆ กับครอบครัวได้ ประกอบกับฐานะของครอบครัวที่ค่อนข้างลำบาก จึงต้องหาผู้อุปการะหลาน แต่ไม่มีการซื้อขาย และผู้ที่รับอุปการะติดต่อมาโดยตรงทางเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้

อำนาจความเป็นชาย

การไม่สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพราะต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ การบังคับขืนใจ การพูดจาข่มขู่ ใช้ความรุนแรง การไม่แสดงความรับผิดชอบ หรือแม้กระทั่งการบังคับให้ทำแท้ง ล้วนเป็นการแสดงอำนาจความเป็นชาย ที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้หญิง การต้องคิด ตัดสินใจด้วยตัวเองท่ามกลางความกดดัน ยิ่งทำให้ผู้หญิงตัดสินใจผิดพลาดได้มากขึ้น

ทางออกของปัญหาที่ผู้หญิงหลายคนยังไม่ทราบ

หากหาทางออกให้กับปัญหาไม่ได้ เราแนะนำให้ผู้หญิงขอคำปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เชื่อถือได้ และมีกลไกการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ หน่วยงานเอกชน เช่น บ้านพักฉุกเฉิน ที่สามารถฝากบุตรไว้ในกรณีที่เกิดปัญหาและไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรตามปกติได้ อีกทั้งสามารถโทรศัพท์ขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือผ่านศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเองก็เป็นองค์กรหนึ่ง ที่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงสามารถขอคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือได้เช่นกัน

การขอรับอุปการะเด็กจากหน่วยงานภาครัฐเป็นช่องทางที่ดีที่สุด

เนื่องจากสถานสงเคราะห์ของภาครัฐมีกลไกการดูแล คุ้มครองเด็ก แม้การขออุปการะเด็กจากหน่วยงานเหล่านี้อาจต้องผ่านหลายขั้นตอน แต่ก็มั่นใจในระดับหนึ่งได้ว่า เด็กจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในอนาคต จะไม่ถูกส่งต่อไปกับครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง มีการติดตาม การร่วมแก้ปัญหา รวมถึงอาจมีเงินอุดหนุนให้กับครอบครัวที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเอกสารสิทธิต่างๆ และความรู้สึกของเด็กเมื่อโตขึ้นด้วย

ต้องไม่ลืมว่าการรับอุปการะเด็กเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความรู้สึกของเด็กในอนาคต การประกาศผ่านเพจหรือกลุ่มต่างๆ จึงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล 0-2513-2889  (กรณีขอคำปรึกษาถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว)


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy