แชร์

งานเสวนาเปิดตัวหนังสือ "เฟมินิสต์แบบบ้านๆ"

อัพเดทล่าสุด: 20 มิ.ย. 2024
344 ผู้เข้าชม

   เปิดที่มาหนังสือ เฟมินิสต์แบบบ้านๆ รวมขบวนการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคทางเพศ ผู้เขียน จุดตั้งต้นการเรียนรู้เริ่มจากการทำงานบ้าน แม้เป็นลูกผู้ชายคนเดียว ทนายความประจำองค์การเฟมินิสต์ ชี้สังคมเข้าใจมากขึ้นสิทธิข้อเรียกร้องหลายเรื่องประสบความสำเร็จ  แต่ยังต้องทำงานต่อเนื่อง ควบคู่การทำความเข้าใจกับสังคมในรากความคิดแบบ ชายเป็นใหญ่ 

   วันที่ 19 มิถุนายน 2567 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาเปิดตัวหนังสือ "เฟมินิสต์แบบบ้านๆ" เพื่อถ่ายทอดค่านิยมในครอบครัว สังคม การเข้าถึงวิถีชีวิตของคนงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และการขับเคลื่อนเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ

   นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า ตนและทีมงานมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลช่วยกันระดมสมอง 2 ปีกว่า ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ออกมาเพื่อสื่อสารให้ผู้คนที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เข้าใจได้ง่ายและมองการต่อสู้ของสิทธิสตรีเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งนี้ มี 3 เหตุผลที่ใช้ชื่อหนังสือ "เฟมินิสต์แบบบ้านๆ" คือ 1.เพื่อต้องการให้เห็นว่า การต่อสู้เรื่องสิทธิสตรีเป็นของทุกคนไม่ใช่ เรื่องขององค์กรผู้หญิง คนงานหญิง คนยากคนจน  แต่ไม่ว่าจะเป็น LGBTQ+ หรือใครก็ตามที่สนใจสามารถร่วมต่อสู้เรื่องความเสมอภาคทางเพศก็ถือว่าเป็นเฟมินิสต์ 2.การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องของทุกคน ส่วนคนทำงานด้านพัฒนาสังคมอย่างพวกเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สนับสนุนคนเหล่านี้ให้รวมกลุ่มสร้างอำนาจต่อรอง สร้างการเปลี่ยนแปลง เช่น สิทธิการลาคลอด 90 วันของกฎหมายประกันสังคม และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งพวกเขาเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ที่เป็นส่วนสำคัญ  3.เราในฐานะคนทำงานพัฒนาสังคมต้องลงไปเรียนรู้กับคนงานหญิง คนยากคนจน คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีสอนในตำรา ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและร่วมต่อสู้ไปกับเขา ในขบวนการเปลี่ยนแปลงไม่มีใครเป็นฮีโร่เพราะทุกคนมีความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงสังคมไปด้วยกัน

  "หนังสือเล่มนี้อยากชี้ให้เห็นว่า ผมมีความเข้าใจเรื่องพื้นฐาน เรื่องผู้หญิงคนแรกมาจากแม่ที่สอนให้ทำงานบ้าน หุงข้าว ซักผ้า ถูบ้าน ล้างจานที่ผู้ชายต้องทำได้ ถึงเป็นลูกชายคนเดียวก็ต้องทำด้วยและช่วงวัยรุ่นผมก็ไม่ได้เป็นชายชาตรี ไม่กล้าหาญเวลาเพื่อนชกต่อยก็ไม่กล้าไปช่วยเพื่อนเพราะกลัว" นายจะเด็จ กล่าว

   ด้าน นางสาวธารารัตน์  ปัญญา ทนายความประจำองค์การ Feminist Legal Support (FLS) กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า เรื่องสิทธิความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ เป็นประเด็นที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ ตื่นตัวและให้ความสำคัญ การขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ ของคนรุ่นใหม่จึงมีการสอดแทรกเรื่องนี้เข้าไปด้วย ถือว่า ดีขึ้นกว่ายุคก่อนๆ ที่คนเข้าใจเรื่องนี้มีไม่มาก จึงเป็นเพียงการรวมกลุ่มกันเล็กๆ และใช้เวลานานในการผลักดัน แต่สถานการณ์โดยรวมในปัจจุบันถือว่าดีขึ้น คนเข้าใจมากขึ้น อุปสรรคน้อยลง หลายเรื่องมีความก้าวหน้า แต่ไม่ได้สำเร็จทั้งหมดในเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ อย่างสิ่งที่ได้มาแล้วคือกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่ก็ยังมีบางอย่างที่ยังไม่ได้ คือ คำนำหน้านาม สิทธิของสามีที่จะสามารถลางานมาช่วยเลี้ยงดูบุตร ซึ่งต้องต่อสู้กันต่อ จึงยังมีเรื่องที่ต้องต่อสู้กันอีกนาน และคิดว่า ต่อให้การผลักดันกฎหมายเป็นผลสำเร็จแล้ว แต่ยังต้องมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนในสังคม 2 สิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน ถึงจะเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมอย่างแท้จริง

   นางสาวธารารัตน์ กล่าวต่อว่า สำหรับหนังสือ "เฟมินิสต์แบบบ้านๆ" นั้นตนได้ติดตามอ่านจากนายจะเด็จ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือ ได้นำเอาหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจมานำเสนอ จึงมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดความห็นต่อประเด็นนั้นๆ มาตลอด ดังนั้น คิดว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านแน่นอน เพราะเป็นเหมือนบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้เรื่องสิทธิความเสมอภาคของคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา บอกเล่าเรื่องราวสิทธิ และความเสมอภาคที่เริ่มต้นตั้งแต่ในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

   ขณะที่นายชูวิทย์  จันทรส  เลขาธิการมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว กล่าวว่า  ตนพึ่งเริ่มเข้าใจเรื่องนี้หลังจากที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับพี่จะเด็จ ผู้เขียนหนังสือ และน้องๆ ในมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล  ในช่วงวัยสามสิบกลางๆ ด้วยความที่พี่จะเด็จเป็นคนที่ทำงานจัดตั้ง ทำงานความคิดกับคนและเชื่อในการรวมกลุ่มของผู้คน  ไม่ว่าจะสาขาอาชีพไหนก็ตาม  พี่จะเด็จจะชวนน้องคุยเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ การเมือง สังคมอยู่เสมอ ๆ เราจะถูกแนะนำให้อ่านหนังสือ ดูหนัง จัดกิจกรรมที่ต้องมีช่วงของการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดทางสังคม และสอดแทรกเรื่องปัญหาจากรากความคิดแบบชายเป็นใหญ่ สำหรับการรวมกลุ่ม การตั้งวงจัดการศึกษา สมัยนี้มันอาจจะดูเชย ดูเอาท์ แต่สำหรับผมมีความสำคัญมาก  ที่หลอมรวมให้ผมมาอยู่จุดนี้ได้  แม้วันนี้รูปแบบในการรวมกลุ่มมันอาจจะเปลี่ยนแปลงไป  แต่ความสำคัญยังคงอยู่ซึ่งรุ่นพี่ๆทั้งหลาย  คนที่ผ่านประสบการณ์มาก่อนควรสนับสนุน  และเข้ามามีส่วนร่วมกับน้อง ๆ ไม่ทำตัวเป็นคัมภีร์ เป็นไม้บรรทัดชี้ถูกผิด หรือเป็นคนตัดสินพิพากษา  พี่ก็ผิดได้  พลาดได้  ขอโทษ  ขออภัยได้  สร้างบรรยากาศที่เสมอภาคในทางความคิด ในการถกเถียง อย่าให้ความอาวุโสใดๆ มาบดบังความงดงามของพื้นที่ความคิด

      "ส่วนตัวมองว่า เนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้ อยู่ที่ความคิดความเชื่อในสิทธิ ความเท่าเทียม  ความเสมอภาค  ปัญหาจากความคิดชายเป็นใหญ่  การต่อสู้ของผู้ด้อยโอกาสผู้ถูกกดทับในสังคม และงานรวมกลุ่ม  ซึ่งสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างง่ายๆได้  ไม่ต้องปีนบันไดขึ้นไปเรียนรู้   ด้วยความเรียบง่ายในการนำเสนอ  มันจึงคือแฟมินิสต์แบบบ้าน ๆ ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้  เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากมันได้จริงๆ แม้กระทั่งในเรื่องง่ายๆ เช่นงานบ้านที่ผู้ชายเองก็ต้องทำให้ได้ ไม่ใช่มอบให้เป็นภาระของผู้หญิง  แล้วตัวเองก็ลอยนวล" นายชูวิทย์ กล่าว

< รับชมถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ที่นี่ >

......

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://mgronline.com/politics/detail/9670000052638

https://www.lokwannee.com/web2013/?p=469715

https://www.facebook.com/share/p/dbg8rmfu7tstcyvn/


 


บทความที่เกี่ยวข้อง
แถลงข่าวโครงการ Abuse is Not Love ปีที่ 3
วันที่ 3 มีนาคม 2568 YSL Beauty แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำภายใต้ ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดแถลงข่าวโครงการ Abuse is Not Love ปีที่ 3 เตรียมลงพื้นที่ให้ความรู้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยตลอดปี 2568
10 เม.ย. 2025
ขอแสดงความยินดีกับ คุณยุ้ย สุธิดา ราชรัตนารักษ์  ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ &quot;สตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง&quot; ประจำปี พ.ศ. 2568
ขอแสดงความยินดีกับ คุณยุ้ย สุธิดา ราชรัตนารักษ์ อาสาสมัครมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "สตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง" ประจำปี พ.ศ. 2568 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
10 เม.ย. 2025
กิจกรรม Makeup Session เสริมพลัง สร้างความมั่นใจด้วยการแต่งหน้าให้กับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ YSL Beauty จัด Makeup Session กิจกรรมเสริมพลัง สร้างความมั่นใจด้วยการแต่งหน้าให้กับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
10 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy