แชร์

เวทีเสวนา "หยุดสัญญาณร้าย..ก่อนกลายเป็นข่าวพาดหัว"

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
713 ผู้เข้าชม

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 66 ที่ศูนย์การค้าจามจุรีสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และ บริษัท สปา - ฮาคูโฮโด จำกัด (SPA HAKUHODO) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมเนื่องในเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก  โดยมีการเสวนา "หยุดสัญญาณร้าย..ก่อนกลายเป็นข่าวพาดหัว" พร้อมทั้งจัดทำหนังสือพิมพ์เฉพาะกิจ จำลองสถานการณ์ความรุนแรงที่กลายเป็นข่าวพาดหัวแจกจ่ายผู้ร่วมงานและประชาชนทั่วไป พร้อมแสดงละคร "สัญญาณร้าย ไม่ใช่รัก" โดย ทีมเฉพาะกิจเธียร์เตอร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้สังคมเฝ้าสังเกต และไม่เพิกเฉยต่อสัญญาณอันตราย 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า  สสส. เห็นความสำคัญของการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายทำงานเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อนประเด็น สะท้อนปัญหา และถอดบทเรียนไปสู่การหาแนวทางแก้ไขมาตลอด เพราะหากไม่ป้องกันตั้งแต่ต้นทางความรุนแรงในครอบครัวและเสี่ยงต่อการมีสุขภาวะทั้ง กาย จิต ปัญญา และสังคมที่ไม่ดี ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ผู้ขอคำปรึกษามูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ปี2565 พบผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย โดยผู้กระทำส่วนใหญ่มีแอลกอฮอล์และสารเสพติดเป็นตัวกระตุ้น ซึ่งเราพูดมาตลอดว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้นทางของปัญหาใน 4 มิติ 1. ด้านสุขภาพ เช่นก่อให้เกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์, โรคตับ, โรคหัวใจขาดเลือด, ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน 2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว, ทะเลาะวิวาท, อุบัติเหตุทางถนน 3.ด้านเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ ทำให้ สูญเสียค่ารักษาพยาบาลมหาศาล, หน้าที่การงานมีปัญหา, ทรัพย์สินเสียหายจากอุบัติเหตุ, ประเทศขาดโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านลบต่อประเทศชัดเจน และ 4. ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมีการศึกษาพบว่า 80% ได้รับผลกระทบจากคนที่ดื่มแอลกอฮอล์  

จากข้อมูลล่าสุดของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญคือผู้ถูกกระทำทุกคนหรือเกือบ 100% ถูกกระทำซ้ำและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับยาเสพติดเข้ามาเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ จุดนี้ยิ่งทำให้ สสส. ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เดินหน้าเชิงรุก ประกาศเจตนารมณ์เดียวกันที่จะทำให้เหตุการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวลดลงให้มากที่สุด และกิจกรรมในวันนี้จะเป็นการเปิดประสบการณ์ สัญญาณ ร้าย... ก่อนกลายเป็นข่าวพาดหัวซึ่งมีกรณีผู้ประสบปัญหาจริงมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคม นำสู่การพิจารณามาตรการทางนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยุติปัญหาเหล่านี้ ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นายพิชัยพัชร์ ตนานนท์ Account Management SPA-HAKUHODO กล่าวว่า เราเคยทำงานร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มาก่อนหน้านี้แล้ว เห็นว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และทำงานเพื่อสังคมอย่างจริงจัง  ปีนี้องค์กรของเราจึงอยากช่วยทำงานด้านการสื่อสารเพื่อยุติความรุนแรง    อยากเป็นส่วนหนึ่งในการลดสถิติความรุนแรง  เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันในสังคมไทยยังมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนกลับชินชาจนมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้  เราจึงระดมความคิดเห็นร่วมกันกับมูลนิธิ  รวมถึงเคสผู้ถูกกระทำความรุนแรงหลายครั้ง  จนได้แนวคิดในการสื่อสาร  โดยมองว่าในแต่ละวันมีข่าวความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นข่าวขึ้นหน้าหนึ่งแทบทุกวัน   จำเป็นต้องสังเกต จับสัญญาณบางอย่างให้ได้เพื่อนำไปสู่การป้องกัน แก้ไข  ก่อนจะลุกลามไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้นจนอาจกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง  และจะมีสัญญาณอะไรบ้างที่ควรสังเกตุ  ทั้งหมดนี้จึงนำมาสื่อสารในรูปแบบหนังสือพิมพ์  โดยได้ร่วมกับหนังสือพิมพ์ M2F จัดทำหนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษนี้ขึ้น   เพื่อแจกจ่าย รณรงค์  ให้คนตระหนักรู้เพื่อลดความรุนแรงในอนาคต   ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคส่วนต่างๆ ก็ต้องเข้ามาร่วมมือกันจึงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

ด้าน นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการสรุปสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวจากข่าวปี พ.ศ.2565 ที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ พบว่าปี 2565 มีรายงานข่าวถึง 1,131 เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 กว่า3 เท่า โดยมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 347 ข่าว คิดเป็น 30.7% และยาเสพติด 272 ข่าว คิดเป็น 24% การรายงานข่าวพบการฆ่ากันตายในครอบครัวสูงที่สุดมีถึง 534 ข่าว คิดเป็น 47.2% การทำร้ายกัน 323 ข่าว คิดเป็น 28.6% การฆ่าตัวตาย 155 ข่าว คิดเป็น 13.7% ข่าวความรุนแรงทางเพศของคนในครอบครัว 64 ข่าว คิดเป็น 5.6% โดยการฆ่ากันเกิดเหตุระหว่างสามีภรรยาสูงสุด 213 ข่าว คิดเป็น 39.9% และเป็นข่าวสามีฆ่าภรรยาสูงถึง 157 ข่าว คิดเป็น 73.7% สาเหตุมาจาก หึงหวง ระแวงว่าภรรยานอกใจ 94 ข่าว คิดเป็น 55% ง้อไม่สำเร็จ 46 ข่าว คิดเป็น 26.9% วิธีการที่ใช้มากสุดคือปืนยิง 93 ข่าว คิดเป็น 53.4% ใช้ของมีคม 51 ข่าว คิดเป็น 29.3% และตบตีทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต 13 ข่าว คิดเป็น 7.5%

ที่น่าห่วงคือการมองปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัวภายใต้ระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง สังคมต้องเริ่มต้นจากการป้องกันโดยจับสัญญาณความรุนแรงในครอบครัวตั้งแต่ระยะแรก เช่น การหึงหวง การบังคับควบคุม ข่มขู่ รุกราน รวมทั้งกรณีที่มีปัจจัยกระตุ้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดร่วมด้วยมีแนวโน้มส่งผลให้ปัญหาทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในส่วนการแก้ไขหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวง พม. ควรเพิ่มการทำงานเชิงรุกด้วยการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครในพื้นที่ให้มีทักษะในการจับสัญญาณความรุนแรงในครอบครัวและเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งการพัฒนากลไกให้เข้มข้นในการคุ้มครองผู้ประสบปัญหาและมีกระบวนการปรับทัศนคติผู้กระทำด้วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก  เรื่องการเคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ภรรยาไม่ใช่สมบัติของสามี นางสาวจรีย์กล่าว

ด้าน ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา กล่าวว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่มีมานานในสังคมไทย และตัวเลขสถิติข่าวความรุนแรงที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเก็บรวบรวมและนำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเนื้อข่าวความรุนแรงที่พวกเรารับรู้ผ่านสื่อมวลชนก็นับวันจะยิ่งทวีความร้ายแรงมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงที่ทุกองคาพยพของสังคมไทยต้องร่วมกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้สร้างความทุกข์และความเสียหายเฉพาะกับผู้ถูกกระทำในปัจจุบัน แต่จะส่งผลกระทบเรื้อรังไปถึงคนรุ่นต่อ ๆ ไปของสังคมที่ต้องเติบโตมาในครอบครัวและสังคมที่มีการใช้ความรุนแรงด้วย

ไม่ว่าเราจะพยายามพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปอย่างไร หากปัญหาความรุนแรงในครอบครัวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและได้ผล ปัญหานี้จะกลายเป็นตัวบ่อนเซาะทำลายรากฐานคุณภาพชีวิตของคนในสังคมโดยรวม และเราจะยิ่งเห็นผลกระทบของปัญหาความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต น่าเสียดายว่าขณะนี้ประเทศไทยเรายังไม่มีทิศทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ชัดเจน รอบด้าน และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น นอกจากเราจะอยากเห็นภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแล้ว เรายังคาดหวังว่าหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีทรัพยากร กำลังคน และอำนาจทางการบริหารที่จำเป็นในการจัดการปัญหา จะต้องมีบทบาทเป็นผู้นำที่เข้มแข็งในการกำหนดยุทธศาสตร์ วางแผน และลงมือปฏิบัติการเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจังมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดร.วราภรณ์ กล่าว

< รับชมถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ที่นี่ >

......

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://www.dailynews.co.th/news/2935660/

https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/845527

https://mgronline.com/qol/detail/9660000106103

https://www.hfocus.org/content/2023/11/29044

https://www.isranews.org/article/isranews-pr-news/124105-thaihealth-30.html

https://www.lokwannee.com/web2013/?p=460499

https://www.naewna.com/local/771521

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG231125193544283

https://workpointnews.com/hotnews/news/N81990d2c03634af994f2a7cd53aae8b0

https://twitter.com/SPRiNGNEWS_TH/status/1728348759158038846

 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
แถลงข่าวโครงการ Abuse is Not Love ปีที่ 3
วันที่ 3 มีนาคม 2568 YSL Beauty แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำภายใต้ ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดแถลงข่าวโครงการ Abuse is Not Love ปีที่ 3 เตรียมลงพื้นที่ให้ความรู้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยตลอดปี 2568
10 เม.ย. 2025
ขอแสดงความยินดีกับ คุณยุ้ย สุธิดา ราชรัตนารักษ์  ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ &quot;สตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง&quot; ประจำปี พ.ศ. 2568
ขอแสดงความยินดีกับ คุณยุ้ย สุธิดา ราชรัตนารักษ์ อาสาสมัครมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "สตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง" ประจำปี พ.ศ. 2568 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
10 เม.ย. 2025
กิจกรรม Makeup Session เสริมพลัง สร้างความมั่นใจด้วยการแต่งหน้าให้กับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ YSL Beauty จัด Makeup Session กิจกรรมเสริมพลัง สร้างความมั่นใจด้วยการแต่งหน้าให้กับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
10 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy